การพัฒนาการจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
Development of Online Active Learning in Computer Programming on Database with PHP and MySQL for Undergraduate Students in Educational Technology
Keywords:
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การสร้างฐานข้อมูล, การจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก, Computer programming, Creating a database, Online instruction by active learningAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาการจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ทดสอบประสิทธิภาพ จากการจัดการการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล จากการจัดการการสอนออนไลน์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL (4) ศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL (5) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษาที่มีต่อการจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 120 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2564 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ระกอบด้วย (1) เว็บจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (3) แบบประเมินทักษะ (4) แบบประเมินความพึงพอใจ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ และ E1/E2 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาการจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL ได้สื่อการสอนออนไลน์เชิงรุก นำเสนอบน LMS พร้อมด้วยกิจกรรมเชิงรุกที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนรวมทุกหน่วยการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอน โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย=4.28, S.D.=0.80) และด้านเทคนิค (ค่าเฉลี่ย =4.42, S.D.=0.72) โดยรวมแล้วอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย=4.35, S.D.=0.76) 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของการจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 : (87.46/88.13) 3. ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิผลจากการจัดการการสอนออนไลน์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL ของนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .8075 แสดงว่าผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL มีความรู้เพิ่มขึ้น .8075 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.75 4. ผลการศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบว่า ผู้เรียนมีมีทักษะการการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละเท่ากับ 89.91 5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดการสอนออนไลน์เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างฐานข้อมูลด้วยภาษา PHP และ MySQL อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.28, S.D. = 0.70) This research is a research and development (R&D) which the objectives were to: (1) develop of an active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL for undergraduate students in educational technology major in order to achieve effectiveness according to the criteria E1/E2 :80/80; (2) test the effectiveness of an active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL; (3) study the effectiveness index of an active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL; (4) study computer programming skills to create database by PHP and MySQL; (5) study satisfaction of undergraduate students in the Educational Technology Program towards an active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL. The population used in the research was 120 undergraduate students. The sample used in the research was 40 undergraduate students studying in the 3rd year, academic year 2021 in the Educational Technology major. The sample group was randomized by cluster random sampling. The tools used in this research consisted of (1) a website for active learning in computer programming to create database by PHP and MySQL for undergraduate students in educational technology major, (2) pre-test and post-test of computer programming (3) skill assessment form, (4) satisfaction evaluation form, an achievement test of the data was analyzed using statistics, mean, standard deviation (S.D.), percentage, and efficiency of process/efficiency of product (E1/E2). The results of this study found that: 1. Assessment results of the development of active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL received active learning teaching materials presented on LMS Moodle. The quality assessment by experts of content (mean=4.28, S.D.=0.80) and technical (mean=4.42, S.D.=0.72). The quality assessment by experts was at a very appropriate level (mean=4.35, S.D.=0.76). 2. The efficiency of the teaching of the development of active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL found that students had good computational thinking skills after taking online teaching and learning management, E1/E2: 80/80 (87.46/88.13). 3. Effectiveness index of the development of active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL was found at .807, which could be inferred that the students had learning progresses at 80.75%. 4. Teaching the development active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL found that students had good computational thinking skills after taking online teaching and learning management with a percentage value of 89.91. 5. The results of the study on the satisfaction of the students who studied the development of active learning for online instruction in computer programming to create database by PHP and MySQL found that the students were satisfied with the online teaching and learning management at the high level (mean= 4.28, S.D.= 0.70).References
กรภัทร เฉลิมวงศ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย (MMCAI) โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง พื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1 หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต. 12th National Conference on Technical Education.
กรรณิการ์ ปัญญาดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัย และพัฒนาหลักสูตร, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี.
เจริญ ภูวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. Rajapark Jouinal of Business Research, 15, หน้า 35.
ณฐภัทร พรมมา. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการออกแบบโปรแกรมภาษาซี ในรายวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ชุดการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงราย วิทยาศาสตรบัณฑิต.
ทัดนิดา คุณสนอง. (2553). การจัดการเรียนการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายสังคม เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. (ครุศาสตร์เทคโนโลยี), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
เทพศิรินทร์ ระถี. (2562). ผลการเรียนด้วยบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวการจัดการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์สาระคอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนัชชา บินดุเหล็ม. (2560). ผลของการสอนแบบออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10, 1148-1157.
บุณณดา ยอดแก้ว. (2564). แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทางไกล โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระบบต่อมไร้ท่อ วิชาชีววิทยา ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ปานวาส ประสาทศิลป์. (2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ “ภาษาอังกฤษเพื่อความพร้อมในการทำงาน” ด้วยเอ็ดโมดู สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรีาชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ผ่องใส ถาวรจักร์. (2553). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของวิทยาลัยราชพฤกษ์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553. สำนักวิชาการ วิทยาลัยราชพฤกษ์.
พฤทธิวรรณ ชวงพิทักษ์ และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูปแบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนําเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(2), 89-96.
มานพ กองอุ่น. (2556). ภาษาพีเอชพี (PHP) คืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://www.programmerthailand.com/blog/post/view?id=4
วาทินี สะกะมณี. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Flip album สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. หลกัสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 9(1), 135-145.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้ออนไลน์…ตัวไกลแต่ใจใกล้. สืบค้นได้จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Online%20Active% 20Learning_1592044439.pdf
วิไลภรณ์ ศรีไพศาล. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.stabundamrong.go.th/web/book/53/b6_53.pdf
วีรยุทธ พลายเล็ก. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะ และกระบวนการและจิตคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้". มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร.
สุมาลี สิกเสน. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2).
สุวรรณดี กะหมายสม. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
อภิชญา ลาธุลี และคณะ. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ออนไลน์เชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 31-42.
อารีษา แก้วเปี้ย, สุรพล ชุ่มกลิ่น และพิชิต พวงภาคีศิริ. (2559). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลบุคลากรออนไลน์กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมสัมมนาวิชาการราชภัฏนครสวรรค์ ครั้งที่ 1, 569-582.
อิทธินันท์ พันธ์รัตน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
โอภาส เอี่ยมสริวงศ์. (2558). ระบบฐานข้อมูล (Database Systems). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Seels, B. B., and Richey, R. C. (1994). Instructional Technology : The Definition and Domains of the Field. Washington, D.C.: Association for Educational Communications