ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Factors Affecting Self Development Competencies of Secondary School Teachers Under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi Rayong

Authors

  • อุภัยภัทร บุญเพ็ง
  • ประยูร อิ่มสวาสดิ์
  • สุเมธ งามกนก

Keywords:

สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง, Self-development competencies of secondary school teachers, The secondary education service area office Chonburi Rayong

Abstract

การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครู การใช้พลังอำนาจของผู้บริหาร และสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครู และการใช้พลังอำนาจของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. สมการพยากรณ์สมรรถด้านการพัฒนาตนเองของครู ได้แก่ ด้านการกระตุ้นเชาว์ปัญญา (X3) ด้านการสร้างบารมี (X1) ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล (X4) ด้านพลังอำนาจพึ่งพา (X11) และ ด้านพลังอำนาจบังคับ (X6) โดยมีอำนาจในการพยากรณ์สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ได้ร้อยละ 54.40 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้    Ŷ= 0.97 + 0.43(X3) -0.59(X1) + 0.42(X4) + 0.21(X11) + 0.22(X6)  ẑ = 0.36(Z3) -0.33(Z1) + 0.32(Z4) + 0.26(Z11) + 0.23(Z6) The purpose of this Quantitative research were to study; the level of factors influencing the self development competencies of secondary school teachers under the secondary educational service area office Chonburi Rayong, the relationship between the factor influencing the self development competencies of secondary school teachers, and to create the regression equation of the self development competencies of secondary school teachers under the secondary educational service area office Chonburi Rayong 2022. The total of a selected sample were 356 teachers in school under the secondary educational service area office Chonburi Rayong. The instrument used for data collection was five-rating scale questionnaire, which was divided into three pasts, namely, questions regarding to the teachers transformational leadership, power using by administrators and the self development competencies of secondary school teachers under the secondary educational service area office Chonburi Rayong. The data was analyzed by a computer program; using Mean (average), Standard Deviation (SD), Pearson’s product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The self development competencies of secondary school teachers under the secondary educational service area office Chonburi Rayong overall and in each aspect were at a high level. 2. Teachers transformational leadership and power using by administrators overall and in each aspect were at a high level. 3. The factors influencing the self development competencies of secondary school teachers related to and the self development competencies of secondary school teachers under the secondary educational service area office Chonburi Rayong with statistically significant at the level of .01. 4. Self development competencies of secondary school teachers has five factors: Intellectual Stimulation (X3) Idealized Influence (X1) Individualized Consideration (X4) Connection Power (X11) and Coercive Power (X6). The predicted factors those affected the self development competencies of secondary school teachers under the secondary educational service area office Chonburi Rayong was 54.50% accurate and the regression equations of point in the form of standard score as follow: The regression equations of the raw score    Ŷ= 0.97 + 0.43(X3) -0.59(X1) + 0.42(X4) + 0.21(X11) + 0.22(X6)  ẑ = 0.36(Z3) -0.33(Z1) + 0.32(Z4) + 0.26(Z11) + 0.23(Z6)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553. เข้าถึงได้จาก http://www.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf

กฤติยา พิกุลทอง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงพร ว่องสุนทร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญทิวา บุญเพ็ง. (2551). การใช้อำนาจของผู้บริหารและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประชุมพร บุญมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอนในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พยุง ประทุมทอง. (2550). ศึกษาความต้องการพัฒนาบุคลากรครูผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชรินทร์ พูลสวัสดิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์

ภัทราพรรณ รุ่งเรืองศิลาทิพย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนิดา คงมั่น. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนิดา ภูวารถนุรักษ์. (2551). สมรรถนะครูไทย. วารสารรามคำแหง. 26(1), 17-18.

วรพจน์ บตสันเทียะ. (2551). การศึกษาปัจจัยการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อบรรยากาศในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศิริกาญจน์ ไกรบำรุง. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาครูผู้สอนโรงเรียนเสิงสาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา. เอกสารการประชุมวิชาการ วิทยาลัยนครราชสีมา.

สมนึก ลิ้มอารีย์. (2552). การศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุพรรษา ทองเปลว. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวรรณี คำมั่น และคณะ. (2551). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมจัดโดยมูลนิธิชัยพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน ชลบุรี

อาจินต์ แซ่อุน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกชัย กี่สุขพันธ์และคณะ. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Newbury Park, CA: Sage

French, J. R. P. & Raven, B. H. (1968). The Base of Social Power in D. Cartwright Studies Power. Michigan: University of Michigan Institute for Social Research. Harper Collins Publishers.

French, R. P., & Raven, B. H. (1968). The bases of social power. Ann Arbor, MI: Institute of Social Research. Gerth, H. K, & Mills, C. W. (1964). Essays in sociology. New York: Oxford University Press.

Hersey, P., & Blanchard, K. H. (2001). Management of organization behavior: Utilizing human resources (6th ed.). Englewood cliffs, NJ: Prenticr-Hall.

Kanter, R. M. (1997). Frontiers of management. United States of American: A Harvard Business Review Book.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurcment.

Likert. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.

Additional Files

Published

2024-01-16