การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลัก เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

The Development of STAD Cooperative Learning Management Using Video as The Main Medium to Develop Thai Traditional Dance Standards Skills for Mattayomsuksa Two Students

Authors

  • รติรัตน์ ไชยกาล
  • ฐิติชัย รักบำรุง
  • นคร ละลอกน้ำ

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, สื่อวีดิทัศน์, รำวงมาตรฐาน, Cooperative Learning, Video Media, Thai Traditional Dance

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลัก เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) หาประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลัก เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) ประเมินทักษะการรำวงมาตรฐาน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลัก เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนโยธินบูรณะ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม 1 ห้อง โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชานาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน (2) สื่อวีดิทัศน์ เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (4) แบบประเมินทักษะการรำวงมาตรฐาน (5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่า t-test และการทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2=80/80 ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลัก เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า มีผลการประเมินความเหมาะสมของแบบประเมินคุณภาพ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 2) ผลการหาประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลัก เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 91.70/83.96 เป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 44 คน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลการประเมินทักษะการรำวงมาตรฐาน พบว่า นักเรียนมีทักษะการรำวงมาตรฐาน เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 5) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลัก เพื่อพัฒนาทักษะการรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61)  This study is a research and development (R&D) which the objectives were to: 1) study the results of  STAD cooperative learning management development using video as the main medium, to develop Thai Traditional Dance standards skills for Mathayomsuksa two students; 2) determine the efficiency of the STAD cooperative learning management processes using video as the main medium, to develop Thai Traditional Dance standards skills in which effectiveness criteria E1/E2:80/80 were used; 3) compare academic achievement; 4) assess standard dance; and 5) study the satisfaction towards the development of STAD cooperative learning management using video as the main medium to develop Thai Traditional Dance standards skills. The sample used in the research was 44 Mathayomsuksa 2/5 students of Yothinburana School, semester 2, academic year 2021, using a classroom as a random unit by simple random drawing by drawing lots. Tools used in this research consisted of (1) a learning management plan for the dance, (2) video media to develop Thai Traditional Dance standards skills for Mathayomsuksa two students, (3) pre-test and post-test, (4) standard dance skills assessment form, and (5) a questionnaire for assessing student satisfaction. The statistics used in the research were mean, the paired sample t-test, and the efficiency test E1/E2=80/80. The results of this study found that: 1) the results of STAD cooperative learning management development using video as the main medium to develop Thai Traditional Dance standards skills for Mathayomsuksa two students. It was found that there were results for assessing the suitability of the quality assessment form. The quality was very good. 2) the results of findings on the effectiveness of STAD cooperative learning management development using video as the main medium to develop Thai Traditional Dance standards skills for Mathayomsuksa two. The efficiency of E1/E2 was 91.70/83.96, which the E1/E2 standard criteria is 80/80. 3)Achievement Comparison Results for 44 students. It was found that the post-test score was higher than the pre-test which the statistically significant difference at the level of 0.1. 4) evaluation results of standard dancing skills. It was found that the students had Thai Traditional Dance standards skills which the Dong Jan Wan Pen song was found at the very high level. and 5) the results of the satisfaction towards the development of STAD cooperative learning management using video as the main medium to develop Thai Traditional Dance standards skills for Mathayomsuksa two students. It was at the highest level (average = 4.61).

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฑาทิพย์ อรุณรัตน์. (2562). การผลิตสื่อวีดิทัศน์โดยการเรียนแบบหรรษา รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์. กศ.ม. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐวรรณ ลาสิทธิ์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์. กศ.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์พิสุทธิ์ นุวัตดีวงศ์. (2560). การสร้างสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์บายศรีปากชาม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์. กศ.ม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วราลักษณ์ เรืองจันทร์. (2561). การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ เรื่อง การรำนาฏยศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (ค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

สมเจตน์ เมฆพายัพ. (2552). การผลิตรายการโทรทัศน์. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สํานักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.

อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562). การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ และ เทคโนโลยี เรื่อง การจัดและตกแต่งสวน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระธาตุขามแก่น พิทยาลัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 5(2). 67-76.

Additional Files

Published

2024-01-16