โอะคุริงะนะในคำกริยาภาษาญี่ปุ่นรูปพจนานุกรม

Authors

  • นฤมล ลี้ปิยะชาติ

Keywords:

ภาษาญี่ปุ่น, คำกริยา, การใช้ภาษาญี่ปุ่น, ตัวอักษร

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาคำกริยารูปพจนานุกรม๓ษาญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรคันจิและลงท้ายด้วยโอะคุริงะว่า มีจำนวนคำเท่าใด โดยแบ่งตามกลุ่มที่มีเสียงท้ายเหมือนกัน ศึกษาลักษณะและจำนวนพยางค์ของโอะคุริงะนะ และศึกษารูปลักษณะเฉพาะของโอะคุริงะนะในคำกริยาประเภทอกรรมกริยาและสกรรมกริยา จากพจนานุกรมที่ใช้ในงานวิจัยมีทั้งหมด 4,793 คำ พบว่า คำกริยาในโครงสร้างแบบที่ 5 ซึ่งเป็นลักษณะของคำประสมมีจำนวนมากที่สุด 2,251 คำ รองลงมาเป็นคำกริยาในโครงสร้างแบบที่ 1 ซึ่งมีลักษณะของคำประสมมีจำนวนมากที่สุด 2,251 คำ อันดับที่สามเป็นคำกริยาในโครงสร้างแบบที่ 4 ซึ่งเป็นคำที่ประกอบขึ้นด้วยอักษรคันจิสองตัวตามด้วยโอะคุริงะนะ มี 489 คำ ในกลุ่มคำกริยาที่แบ่งตามเสียงท้ายคำกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กลุ่มที่ลงท้ายกด้วยเสียง/-eru/ ที่มีจำนวน 1,392 คำ กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ลงท้ายด้วย る ru  มีจำนวน 1,098 คำ กลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ลงท้ายด้วย す su  มีจำนวน 917 คำ กลุ่มที่ลงท้ายด้วย つ tsu, ぐ gu และ ぶ bu มีไม่ถึง 100 คำ และกลุ่มที่ลงท้ายด้วย ぬ nu มีเพียงสองคำ          ในเรื่องลักษณะและจำนวนพยางค์ของโอะคุริงะนะพบว่า คำกริยาประเภทที่ 1 มีโอะคุริงะนะได้ตั้งแต่ 1 ถึง 5 พยางค์ โอะคุริงะนะ 1 พยางค์เกิดได้ในทุกกลุ่มเสียง คำกริยาประเภทที่ 2 มีจำนวน 3 ถึง 5 พยางค์ คำกริยาประเภทที่ 3 มะโอะคุริงะนะมากที่สุดเพียง 2 พยางค์ คำกริยาประเภทที่ 4 และ 5 มีโอะริคุริงะนะได้ตั้งแต่ 1 ถึง 4 พยางค์โออะคุริงะนะ 1 พยางค์เกิดได้ในทุกกลุ่มเสียง          ในเรื่องลักษณะเฉพาะของโอะคุริงะนะในคำกริยาประเภทอกรรมกริยาและสกรรมกริยาพบว่า ไม่สามารถจะสร้างกฎที่แน่นอนเพื่ออธิบายได้ว่า เมื่อคำกริยาในรูปอกรรมกริยามีรูปแบบของโอะคุริงะนะเช่นนี้ คำกริยารูปสกรรมกริยาจะมีรูปแบบโอะคุริงะนะเช่นไร เพียงแต่อาจแบ่บกว้างๆ ได้ 3 แบบ คือเมื่ออกรรมกริยาลงท้ายด้วยเสียง /-u/ สกรรมกริยาจะลงท้ายด้วย す - su  อกรรมกริยาลงท้ายด้วยเสียง /-u/ สกรรมกริยาจะลงท้ายด้วยเสียง -/e/ru และอกรรมกริยาลงท้ายด้วยเสียง -/e/ru สกรรมกริยาจะลงท้ายด้วยเสียง /-u/Abstract          This research is aimed to examine the number of dictionary formed Japanese verbs which are in Kanji and entailed by Okurigana categorized by similar ending sounds; secondly, to consider characteristico; and number of  syllable  of  Okurigana;  and  thirdly,  to  examine  the  particular forms  of Okurigana in transitive and intransitive verbs. From the dictionary used in this there are 4,793 Japanese verbs found. The result shows that the group of verbs found is that  of  the fifth  category  (compound form) which is consisted of 2,251 words. The second group o' verbs found is that of the first category (single-word form) which is consisted of 1,907 words. The third group is that of the fourth category (two kanji characters and okurigana) which is consisted of 489 words. When examining the verbs according to their ending sounds, the findings show that the biggest group, which is consisted of 1,392 words, is the group of verbs ending with /-·eru/ sound. The following group which is consisted of 1,098 words is the group of verbs ending with る/ru/ sound. The third group which is consisted of 917 words is the group of verbs ending with す /su/ sound. For those verbs ending with つ /tsu/, ぐ /gu/ and ぶ /bu/ sounds, the number of them altogether is less than ·1 00 words and there are only two verbs ending with ぬ /nu/ :sound.          Considering characteristic and number of syllable of Okurigana, it is found that the numbers of syllable of Okurigana in the first  category are from 1 to 5 and 1-syllable Okunigana can appear in all phonetic categories. The numbers of syllable of Okurigana in the second category are from 3 to 5. The maximum number of syllable of Okurigana in the third category is only 2 The numbers of syllable of Okurigana in the fourth and fifth categories are tram 1 to 4 and 1-syllable Okunigana can appear in all phonetic categories.           For the specific characteristics of Okurigana in transitive and intransitive it is found that there is no specific syntactic rule explaining coincidence of the existence and the form of Okurigana. However, it can be separated into three main types as followed. Firstly, when intransitive form ends in /-u/ sound, the transitive form will end in す /su/ sound. Secondly, when intransitive form ends in /-u/ sound, the transitive form will end in -/e/ru sound. Thirdly, when intransitive form ends in-/e/ru sound, the transitive form will end in / u/ sound. 

Downloads