การจัดประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน-สังคมของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • สุวัฒน์ ดวงแสนพุด

Keywords:

การฝึกงาน, การพัฒนาชุมชน, การพัฒนาสังคม

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยเรื่อง การจัดประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน-สังคม ของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษากระบวนการจัดประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน-สังคมของมหาวิทยาลัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประการที่สองเพื่อศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน-สังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน-สังคมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือประการที่สามเพื่อศึกษาคุณสมบัติของนักศึกษาพัฒนาชุมชน- สังคมที่ควรมีตามความคิดเห็นของปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพพัฒนาชุมชน-สังคมตามความคิดเห็นของสถานประกอบการในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ สถานประกอบการ 146 แห่ง นักศึกษาจาก 13 มหาวิทยาลัยๆ ละ30 คน รวม 390 คน และอาจารย์จาก 13 มหาวิทยาลัยๆ ละ 1 คน รวม 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลขากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมสาสตร์ สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์แบบสอบถาม คือ สถิติพื้นฐาน หาจำนวนและค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ส่วนแบบสัมภาษณ์ เน้นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เป็นข้อความบรรยาย (Descriptive) ซึ่งได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ และจดบันทึก ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการจัดประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน-สังคมของมหาวิทยาลัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ในขั้นตอนการเตรียมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นวิชาชีพเฉพาะทาง และเน้นกิจกรรมเสริมทักษา ในขั้นตอนการดำเนินงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สิ่งที่สถานศึกษาและสถานบันประกอบการดำเนินการ คือ การติดตามและนิเทศงาน และในขั้นตอนการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สิ่งที่สถานศึกษาและสถานประกอบการดำเนินการ คือ ประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จัดทำรายงานผลจัดสัมมนา การถอดบทเรียน โดยเน้นการมีส่วนรวมของสถาบันศึกษา สถานประกอบการ นักศึกษา และผู้ปกครอง ความต้องการเกี่ยวกับการจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน-สังคมของนักศึกษาสาขาวิชา การพัฒนาชุมชน-สังคมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ความต้องการความรู้เกี่ยวกับหลักการให้การศึกษาแก่ชุมชน ความต้องการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคด้านการพัฒนาสังคม ความต้องการความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ และความต้องการเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดประสบการณ์วิชาชีพ คุณสมบัติของนักศึกษาพัฒนาชุมชน-สังคมที่ควรมีตามความคิดเห็นของสถานประกอบการ คือ ความรู้ความสามารถทางวิชาการเฉพาะ คุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะการตรงต่อเวลา ส่วยด้านบุคลิกภาพและคุณลักษณะส่วนตัว คือ ความเชื่อมั่นในตนเองและกล้าแสดงออกและพูดจาไพเราะ อ่อนน้อมถ่อมตนหรือมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพพัฒนาชุมชน-สังคมตามความคิดเห็นของสถานประกอบการในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นักศึกษาขาดความกระตือรือร้นต่อการปฏิบัติงานกับการปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ขาดทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ไม่มีกฎระเบียบร่มกันระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบการ สถานประกอบการบางแห่งไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร อาจารย์ไม่ไปนิเทศนักศึกษาตามกำหนดการขาดระบบในการบริหารการพิจารณาผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่มีความยุติธรรมเท่าที่ควร และเกณฑ์การประเมินผลของสถานประกอบการและสถานศึกษายังไม่สอดคล้องกันABSTRACT             The purposes of this research were: (1) to  the internship process of Social Development Programs of the universities in northeastern region, to the needs in relation to the internship process of Social Development Programs of the universities in northeastern region, (3) to study the characteristics of Social Development students according to the workplaces' perception, (4) to study the relevant problems about the internship process of Social Development Programs due to the workplaces' perception. The target group for this research consisted of 146 workplaces, 390 students (30 students from each 13 universities in northern region), and 13 lecturers (1 lecturer from each '13 universities in northern region). The research instruments were questionnaires and interview. The data from questionnaire were   analyzed using percentage and mean (x). Content analysis was employed to analyzed the descriptive data collected from the interview. The research results were as follows:            In terms the internship process, it was found that during the pre- internship stage the universities put more focus on teaching the content- based courses and extracurricular activities for the students. During the while-internship stage, it was found that both universities and workplaces followed up the students' internship by visiting and giving supervision to them.  It indicated that at the evaluation stage, both universities and workplaces evaluated the students’ performance by assess their academic knowledge and practice, evaluate the seminar reports and participatory group discussion among university, workplaces, students and parents. When discussion about the students’ needs in relations to the internship process of Social Development Programs of the universities in northeastern region, it was found that they needed the knowledge about knowledge transferring principles, social development techniques, computer knowledge and knowledge about internship process. In term of the opinion of the workplaces on students’ desirable characteristics, it was found that students’ academic knowledge was seen as the priority. Nevertheless, they also put more focus on ethics, especially on punctuality. In term of personality, they would like the students to be more confident, polite and friendly. Finally, the problems of internship process according to the workplaces’ perception were that the students lacked of enthusiasm to work accomplishment. They did not have leadership skills and ignored the workplaces’ rules or disciplines. In term of academic contents, the universities did not prepared or provided relevant contents to students that they could not apply the knowledge to the authentic workplaces. Moreover, some workplaces did not pay attention to students’ internship. For internship  advisors. It was found that some of them did not visit the students and they did not have reliable internship evaluation tool. In addition, the assessment criteria from both workplaces and the advisors were different.

Downloads