การสอนสระในแบบเรียนภาษาไทย สำหรับเด็กเริ่มเรียนอ่านเขียนเบื้องต้น ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน
Keywords:
สระ, การสอนสระ, แบบเรียน, ภาษาไทย, การอ่านAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปสระที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยและรูปแบบการนำเสนอสระในแบบเรียนภาษาไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2435-2556) คัดเลือกจากกำหนดการใช้แบบเรียนจากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้วิจัยเลือกเฉพาะแบบเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกอ่านเขียนเบื้องต้นหรือเฉพาะแบบเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมดจำนวน 17 แบบเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นเกณฑ์วิเคราะห์หน่วยเสียงสระในภาษาไทย ของกาญจนา นาคสกุล (2541) เพื่อศึกษารูปสระในแบบเรียนภาษาไทย และวิธีสอนแบบ Phonics Method ของ Noah Webster (1824) เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอสระในแบบเรียนภาษาไทย โดยนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษาการสอนสระในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับเด็กเริ่มเรียนอ่านเขียนเบื้องต้น ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปสระเดี่ยวและสระประสมในแบบเรียนภาษาไทย ตามหน่วยเสียงสระในภาษาไทยทั้งหมด 21 หน่วยเสียง รูปสระที่ไม่ปรากฏใช้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ สระเออะ รูป เ-ิ็ เช่น เกิ็ง, เกิ็น สระเออะ รูป เ-็อเช่น เก็อง, เก็อน สระเอาะ รูป เ-า เช่น สงเคราห์, อนุเคราห์ สระเอีย รูป เ-ี็ย เช่นเกี็ยน, เตี็ยง สระเอีย รูป -ย- เช่น วยง, รยง, สง่ยม สระเอือ รูป เ-ื็อ เช่น เคื็อง, เฮื็อนสระอัว รูป เ-ัวะ เช่น เผลัวะ สระอัวะ รูป -็ว เช่น ก็วง, ก็วน สระอัว รูป -วว เช่น ท่วว, ตววตน นอกจากนี้ การปรากฏรูปสระโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามลำดับ ดังนี้ แบบเรียนเร็ว (61 รูป) แบบแรกเรียน (58 รูป) แบบหัดอ่านเบื้องต้น (54 รูป) แบบเรียนหลวง (49 รูป) แบบเรียนเร็วใหม่ (44 รูป) แบบหัดอ่านหนังสือไทย (41 รูป) แบบเรียนใหม่ (40 รูป) แบบเรียนบันไดก้าวหน้า (36 รูป)หนังสือเรียนภาษาไทย พ.ศ. 2521 (36 รูป) ภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา (36 รูป)ภาษาไทยชุดภาษาเพื่อชีวิต (35 รูป) แบบสอนอ่านมาตรฐาน (31 รูป) แบบหัดอ่านก ข ก กา (30 รูป) หนังสือสุดาคาวี (30 รูป) หนังสือภาษาไทย พ.ศ. 2521 (36 รูป) หนังสือชุดเสริมประสบการณ์ (26 รูป) นอกจากนี้ยังพบว่าแบบเรียนที่มีการสอนอ่านเป็นคำ ประโยค จะมีการสอนรูปสระไม่ครบทุกรูปตามระบบเสียงในภาษาไทย ซึ่งการสอนรูปสระนั้นควรนำเสนอให้ครบทุกรูปเนื่องจากแบบเรียนจัดเป็นวัสดุในสอนอ่านสำหรับเด็กเริ่มเรียนอ่านเขียนเบื้องต้น หากผู้เรียนรู้จักรูปสระครบทุกรูปจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการอ่านวัสดุอื่นต่อไป 2) รูปแบบการนำเสนอสระในแบบเรียนภาษาไทย พบว่ามี 4 รูปแบบ คือ การสอน “แม่ นโม” การสอนรูป-ชื่อสระการสอนสระโดยวิธีการแจกลูกและการสอนสระโดยวิธีสะกดคำ นอกจากนี้ยังพบว่าแบบเรียนบางเล่มมีการสอนรูปแบบการนำเสนอสระมากกว่า 1 รูปแบบและขาดความสม่ำเสมอในการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งแบบเรียนภาษาไทยควรมีการสอนรูปแบบสระให้สอดคล้องกันทั้งเล่มเพื่อให้การนำเสนอเนื้อหามีความต่อเนื่องในการฝึกอ่านเพื่อการจดจำรูปสระ อันเป็นกระบวนการพื้นฐานสำคัญในการสอนให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้Downloads
Issue
Section
Articles