รูปแบบการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร และระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน: กรณีศึกษา ตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ จังหวัดชลบุร
Keywords:
ปาล์มน้ำมัน, การใช้ที่ดิน, การตัดสินใจปลูกพืช, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์Abstract
บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี และ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการใช้ที่ดินและระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน ข้อมูลการศึกษาได้จากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ และภาพดาวเทียมพ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2556 และใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และใช้การเก็บแบบสอบถามในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการใช้ที่ดิน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบและประเภทของการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2545 ที่มีความหลากหลายของชนิดพืชที่ปลูก โดยพืชที่มีการปลูกมากที่สุด คือ ยางพารา รองลงมา คือ ปาล์มน้ำมัน ปาไม้ และอ้อย ตามลำดับ ลักษณะทางการเกษตรบริเวณนี้เป็นไม้ยืนต้นและพืชไร่เชิงพาณิชย์ ส่วน พ.ศ. 2556 ยางพารายังคงเป็นพืชที่มีการปลูกมากที่สุด รองลงมา คือ ปาล์มน้ำมัน พืชทั้งสองประเภทนี้มีปริมาณ พื้นที่การเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2545 ซึ่งประเภทการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่ การเพาะปลูก ได้แก่ การปลูกปาล์มน้ำมัน จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2545-2556 พบว่า มีพื้นที่เพาะปลูกมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนมาจากพื้นที่ปลูกอ้อยมากที่สุด รองลงมาพื้นที่ปลูกยางพารา และพื้นที่ว่างเปล่า ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก เพราะเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันให้ความสำคัญกับความต้องการผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ของตลาดและปลูกปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเร็วและนานเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น Abstract This study aims to: 1) analyze the characteristics and land use change in Klong Plu Sub-district, Nong Yai District, Chon Buri Province; 2) to investigate factors which affected in the land use pattern and oil palm producing system. Data was collected from interpretation of aerial photographs and satellite image which was acquired in 2002 and 2013, The analysis of land use change was conducted by applying Geographic Information System. The data used for investigating the factors affecting land use patterns was collected by using questionnaire. The findings showed that the patterns and types of land use were composed of various in 2002. Among these, rubber was the majority oil palm, forest, and sugarcane, respectively. The main agricultural plantations were perennial plants and commercial field crop. In 2013, the majority of the plants was still rubber followed by oil palm. The amount of two type agricultural area had been increasing for 2002. The land use changed with the increasing amount of perennial tree plantation and decreasing amount of field crop. Oil palm area were increased: the oil palm area had replaced the sugarcane area, rubber area and bare soil respectively, The main reason was due to the economy factor. The farmers concern to the market demand, and the production yields compared to other plants.Downloads
Issue
Section
Articles