กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต
Keywords:
กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, ความรับผิดชอบต่อสังคม, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาAbstract
การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในอนาคต” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอว่าควรนำกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มาใช้ในการบริหารจัดการกยศ.ในอนาคตกยศ. ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ปัจจุบันได้บริหารจัดการเงินกู้ยืมให้แก่นักเรียนไปแล้วกว่า 3.7 ล้านราย และใช้งบประมาณแผ่นดินไปมากกว่า 3 แสนล้านบาท แต่นับว่ายังไม่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) และสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาและ CSR เป็นหน่วยวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และแบบอุปนัย (Analytic Induction)จากผลศึกษา กยศ. ควรนำแนวคิด CSR มาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนฯมากกว่าเดิม และควรอยู่ในกระบวนการทำงานหลักขององค์กรเป็น“CSR in-process" โดยปรับปรุงข้อกำหนด ข้อบังคับ หรือกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กระบวนการการทำงานของกยศ. โปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และควรมีกลยุทธ์ด้าน CSR ที่เป็นที่ยอมรับเข้ามาเป็นเครื่องมือ อาทิ นโยบายในการกำกับดูแลองค์กรอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ (Good Governance) การเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน (Human Rights) การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (Fair Operation Practice) แนวปฏิบัติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่น การปรับปรุงใดๆควรสอดคล้องกับเรื่องเหล่านี้ รวมถึงมาตรฐาน ISO 26000 และอื่นๆ เช่น OECD Global Compact ตลอดจนการให้บริการที่ดี (Service Mind) ให้ความสำคัญต่อลูกค้า ซึ่งในที่นี้ หมายถึง ผู้กู้ ผู้ปกครองของผู้กู้ สถานศึกษา และธนาคาร รวมทั้งควรมีนโยบายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เน้นกิจกรรมด้านการศึกษา สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งถือเป็น CSR เพิ่มเติมนอกเหนือจากกระบวนการการทำงานหลักของกยศ. (CSR after-process) การกำหนดให้ CSR เป็นยุทธศาสตร์หลักของกยศ. เชื่อได้ว่า จะก่อให้เกิดผลดีต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน และสังคมโดยรวม ทำให้ กยศ. ประสบความสำเร็จในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาและขับเคลื่อนสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริงDownloads
Issue
Section
Articles