รูปแบบกิจกรรมหลังเกษียณอายุตามความต้องการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร The Model of Retiring Activities Under Needs of Staff of Rajabhat Universities in Bangkok
Keywords:
รูปแบบ, กิจกรรมหลังเกษียณอายุ, บุคลากรหลังเกษียณอายุ Model, Retiring Activities, Retiring StaffAbstract
บทคัดย่อการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยในการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุกับการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุกับการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุ และ3) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุตามความต้องการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่มีอายุระหว่าง 50-65 ปี ในสายวิชาการและสายสนับสนุน จำนวน 291 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรในระดับผู้บริหารรวม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยในการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยในการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดกิจกรรมหลังเกษียณอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 3) รูปแบบกิจกรรมหลังเกษียณอายุควรเป็นกิจกรรมที่ตรงต่อความสนใจ และมีประโยชน์ต่อร่างกายและทางจิตใจของบุคลากรเกษียณอายุตลอดจนจัดมีการติดตามโครงการหลังเกษียณอายุในแต่ละปีอย่างต่อเนื่องABSTRACTThe purposes of this study were to 1) study factors of the arrangementof retiring activities and the arrangement of retiring activities 2) study therelationship between factors of the arrangement of retiring activities and thearrangement of retiring activities, and 3) develop the model of retiring activitiesunder needs of staff of Rajabhat universities in Bangkok. Quantitative andqualitative research methods were adopted. The samples were 291 academicand administrative staff aged between 50-65 years, and the key informantswere 6 executive-level staff. The tools used for data collection includedquestionnaires and focus group discussions. Regarding statistics, frequency,percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Correlation Coefficientwere used for the analysis of the quantitative data, while content analysiswas used for the analysis of qualitative data. It was found that 1) factors ofthe arrangement of retiring activities was at a high level overall, and thearrangement of retiring activities was at a moderate level overall 2) factors ofthe arrangement of retiring activities has a positive relationship with thearrangement of retiring activities at a statistical significance level of 0.001and 3) The model of retiring activities should match the interests, and benefitthe body and mind of the retiring staff. Moreover, the after-retirement projectsshould be monitored consistently every year.Downloads
Issue
Section
Articles