การอนุรักษ์และการประยุกต์ภูมิปัญญาหัตถกรรมผ้าทอของคนยองในจังหวัดลำพูน The Conservation and Application of Local Wisdom in Hand Woven Textiles of Yawng People in Lamphun Province
Keywords:
คนยอง, หัตถกรรม, ผ้าทอ, จังหวัดลำพูน, Yawng people, Handicraft, Hand woven, Lamphun ProvinceAbstract
บทคัดย่อบทความนี้เป็นการศึกษาคุณค่า การอนุรักษ์และการประยุกต์ภูมิปัญญา งานหัตถกรรมผ้าทอของคนยองซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดลำพูน โดยมีกรณีศึกษาจากองค์กรภาคสังคมในระดับท้องถิ่น อาทิ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว ศูนย์ศิลปหัตถกรรมผ้าทอผู้สูงอายุวัดต้นแก้วและกลุ่มทอผ้าบ้านแม่แรง (ร้านพิณฝ้าย) จากการศึกษาพบว่า งานหัตถกรรมผ้าทอเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมเกษตรกรรม เมื่อสังคมอุตสาหกรรมได้แผ่ขยายเข้าสู่ส่วนภูมิภาคด้วยการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้นที่จังหวัดลำพูนเมื่อปี พ.ศ. 2526 ทัศนคติของคนรุ่นใหม่ต่องานหัตถกรรมผ้าทอที่ต้องใช้ความชำนาญ และความวิริยะอุตสาหะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนส่วนใหญ่มุ่งหน้าสู่การทำงานโรงงานส่งผลให้การสืบทอดภูมิปัญญาด้านงานผ้าทอมือเริ่มสูญหาย แต่ด้วยความสำนึก และตระหนักถึงคุณค่ามรดกทางปัญญาจากบรรพชนผู้นำภาคสังคมในท้องถิ่น จึงมีความเคลื่อนไหวในการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านชีวิตและวัฒนธรรมของคนยองในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมในวงกว้าง อาทิ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ประชาชนและเยาวชนได้เล็งเห็นคุณค่าของมรดกทางภูมิปัญญาอันเป็นรากฐานแห่งการสร้างองค์ความรู้แห่งชีวิต การกล่อมเกลาจิตใจและนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองให้คงอยู่สืบไปAbstractThis article is a study of value, conservation and application of local wisdom in hand woven textiles of Yawng people, the largest population in Lamphun Province. There are case studies of social organizations in local area including the Museum of Wat Ton Kaew, the Art and Craft Textiles Center for Elders of Wat Ton Kaew and the Woven Textiles Center of Mae Raeng (Pinfay Store). It is found that hand woven textiles were a crucial fundamental way of living for people in agricultural society. When industrial society expanded to the suburbs and the Northern Industrial Estate established in Lamphun Province in 1983, the attitude of young generation toward hand woven textiles have changed. Most people headed to work infactories. The inheritance of local wisdom in hand woven textiles has declined. However, with the gratitude and the awareness to the value of intellectual heritage, some local leaders have established learning resource centers of Yawn culture in several ways. The purpose is to persuade public such as government organizations, educational institutions and young people to be aware of the value of wisdom heritage as it is the basic for the body of knowledge for life, shaping the minds and bringing us the proud ofour culture.Downloads
Issue
Section
Articles