พัฒนาการชายแดนไทย-กัมพูชา: การเกิดศูนย์พักพิงผู้อพยพและจุดเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทย Development Thailand-Cambodia: the Shelters Immigrants and Foreign Policy of Thailand
Keywords:
พัฒนาการ, ผู้อพยพ, ศูนย์พักพิง, ชายแดน, Development, Refugee, Sheltering Camp, BorderAbstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451-ปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451-ปัจจุบัน 3) เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอรูปแบบการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้าน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บข้อมูลทั้งแบบการสังเกต การสัมภาษณ์แบบมีและไม่ส่วนร่วม ผลการวิจัยพัฒนาการและการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้าน บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451-ปัจจุบัน พบว่าหลังจากคืนเมืองพระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ ให้กับกัมพูชาโดยฝรั่งเศสเกิดการแบ่งพื้นที่และผู้คนออกจากกัน โดยมีเส้นเขตแดนเป็น ตัวกำหนดการอพยพของผู้คนเข้ามายังฝั่งชายแดนไทยจากหลากหลายปรากฏการณ์ก็เริ่มเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอพยพช่วงสงครามอินโดจีน สงครามภายในกัมพูชา เกิดการปรับตัวทั้งผู้คนและพื้นที่ แยกพื้นที่อำเภอที่มีขนาดใหญ่เป็นอำเภอเล็กเพื่อให้สะดวกสำหรับการปกครอง จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเอง ระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรมพึ่งพิง ถ้อยทีถ้อยอาศัยลดน้อยลง การแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรากลายเป็นเงื่อนไขหลักDownloads
Issue
Section
Articles