วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ประเภทกลองก้นยาว กลองมองเซิงและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมืองจ๊อกแม) Tai Yai’s Musical Performing Culture of Glong Gon Yao, Glong Mong Seong and Stringed Musical Instruments in...
Keywords:
วัฒนธรรมการบรรเลง, ดนตรีไทใหญ่, เมืองจ๊อกแม, รัฐชาน, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, Performing Culture, Tai Yai Music, Kyauk Me City, Shan State, The Republic of the Union of MyanmarAbstract
บทคัดย่องานวิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาวิธีการบรรเลงและทำนองของกลองก้นยาว กลองมองเซิง และตอยอฮอร์นของไทใหญ่ในเมืองจ๊อกแม ผลการวิจัยพบว่า กลองก้นยาวใช้ตีประกอบการฟ้อนนก ฟ้อนโต และตีแห่ โดยเฉพาะงานปอยส่างลองงานประจำปีที่ใหญ่ที่สุด การตีแห่พบการตีเสียงกด เสียงเปิด การตีลงส้น (กำมือ) สำหรับการตีเสียงกดมักผสมการตีทอนสำนวน การตีกับฟ้อนนกจะตีแนวเร็ว มักใช้เสียงกดท้ายกลุ่มทำนองย่อย การตีกับการฟ้อนโตมีพยางค์เสียงถี่และเน้นเสียงปิด กลองมองเซิงจะตีร่วมกับฉาบและมอง การสอดทำนองไม่ซับซ้อน กระสวนจังหวะกลองพบ 5 กระสวน การสีตอยอฮอร์นจะร่วมอยู่ในวงจ้าดไต เรียงร้อยทำนองด้วยเสียง 10 เสียง กลวิธีการบรรเลง ได้แก่ การสีขย่มสาย การสีขยี้ การสีเสียงตรง การสีเสียงไหล การสีสะบัด การสีประคบเสียง และการสีเสียงสั้นตามเสียงร้อง ทำนองสีกับการคลอร้องมักขยี้เป็นชุด เน้นเฉพาะเสียงลูกตกของคำร้อง การสีคลอร้องกวามจี 2 จะสีตรง ๆ ตามคำร้องเป็นส่วนใหญ่ ถ้าสีสลับทำนองร้องมักยึดเฉพาะโครงสร้าง ไม่เคร่งครัดจังหวะและพยางค์เสียง นอกจากนี้ยังพบการสีย้ำทำนองท้ายกลุ่มทำนองที่รับจากร้องAbstractThis research is focusd on the performing techniques and melodies of the Glong Gon Yao and Mong Seong drums as well as the Tor Yor Horn string instrument of the Tai Yai people in Kyauk Me City. The research findings show that Glong Gon Yao accompanied the Fon Nok and Fon Toh dances, the ritual procession, as well as the Poi Sang Long Festival, the largest annual festival in Shan State. The techniques included pressing, opening and closing of hands. Hand beats are generally pressed with diminished melodies. The rapid beats in Fon Nok Dance are produced by the pressing of hands towards the end of secondary phrase. Strumming and stressing with close-hand beating are used in Fon Toh Dance. Glong Mong Seong is played in conjunction with Chab (large cymbals) and Mong (small gongs). Rhythmic counterpoints were rarely found and five beating patterns are identified. Tor Yor Horn is played in 10 notes in a Jad Tai ensemble. Playing techniques include non-embellishment, triplets, vibrato, 16th /32th-note embellishment, gliding, coupling, and identical accompaniments of short syllabic lyrics. Tor Yor Horn melodies are usually played as a series with a stress on the Look Tok vocal melodies. The Kwarm Gee 2 singing accompaniment, is mainly synchronized to the song lyrics. As an interlude, the principal musical structure is usually adhered to while the rhythms and musical syllables are less restricted. Repeated pitches at the end of the melodic groups is also found.Downloads
Issue
Section
Articles