การพัฒนารูปแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการให้บริการสารสนเทศสำหรับนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Development of a Model of the Application of Online Social Network for Information Services of Graduate Students,...
Keywords:
บริการสารสนเทศ, การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์, Information Service, Online Social Network for Information ServicesAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้งเปรียบเทียบความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาและช่วงอายุ ทั้งนี้เพื่อนำเสนอรูปแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการให้บริการสารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 371 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาทุกคนเคยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยใช้ Line และ Facebook อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ Smart phone ความต้องการบริการสารสนเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นักศึกษาต้องการมากที่สุด ได้แก่ บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าโดยการสนทนาออนไลน์กับบรรณารักษ์ บริการเผยแพร่ไฟล์บันทึกการบรรยายและการเรียนในรายวิชาต่าง ๆ และบริการสืบค้นสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการต้องการตามการร้องขอและจัดส่งผลการค้นสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเปรียบเทียบความต้องการบริการสารสนเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า นักศึกษากลุ่มสาขาวิชา และช่วงอายุต่างกัน มีความต้องการบริการสารสนเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในบางรายการ The purposes of this research were to study the use of online social network and users’ needs for information services through online social network, and to compare the needs for information services through online social network divided by subjects and age ranges of graduate students as well, in order to develop the appropriate model of information services through online social network for graduate students of Sukhothai Thammathirat Open University. The sampling group consisted of 371 graduate studentsof Sukhothai Thammathirat Open University in 2015 academic year. Questionnaires were used to get the required information and the obtained data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and the analysis of One-Way ANOVA and Scheffe’s method for the hypotheses testing.The results showed that all graduate students had used online social networks to mostly communicate with others by using the Line and Facebook. The devices they used most were Smart phones. Information services through online social network that graduate students needed most, including reference service by online communication with a librarian, distribution of the records of lectures and classes in various subjects, information retrieval service as requested by users, and also the service of electronically document delivery. When the needs for information services through online social network divided by subjects and age ranges of graduate students were compared, the statistically significant differences at the level of .05 were found in some aspects.Downloads
Issue
Section
Articles