เรื่องเล่าทีดัดแปลงจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ Narratives Adapted from the Story of Mahajanaka of King Bhumibol: A Study as Panegyric Literature
Keywords:
เรื่องเล่า, บทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก, วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ, Narratives, the Story of Mahajanaka of King Bhumibol, Panegyric LiteratureAbstract
บทความนีมี้จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะของวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติที่ปรากฏในเรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก และศึกษาบทบาทของเรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกในฐานะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ ผลการวิจัยพบว่าเรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกปรากฏลักษณะของวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติอย่างเด่นชัด 2 ประการ ประการแรก คือเนื้อหาที่แสดงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชตามองค์ประกอบของวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติอันได้แก่ บทประณามพจน์ การแสดงจุดมุ่งหมายว่าแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ การบรรยายพระราชกรณียกิจ และบทสรุป ประการที่สอง คือการปรับเนื้อเรื่องพระมหาชนกให้มีองค์ประกอบที่แสดงการเฉลิมพระเกียรติ ทั้งการปรับเนื้อหา การสร้างองค์ประกอบของเรื่อง และการสร้างองค์ประกอบศิลป์ บทบาทของเรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกในฐานะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ แสดงให้เห็นพลวัตของวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติที่นำเสนอผ่านสื่อสมัยใหม่ที่สามารถสื่อแนวคิดในการเฉลิมพระเกียรติไปยังผู้เสพจำนวนมากได้This article aims to study the characteristics of panegyric literature that appear in the narratives from the story of Mahajanaka and to study the role of narratives from the story of Mahajanaka as panegyric literature. The study reveals that two characteristics of panegyric literature appear in the narratives from the story of Mahajanaka. The first is content used to glorify King Bhumibol that conforms to the composition of traditional panegyric literature, such as the invocation, the purpose of glorification, the description of royal duties, as well as the conclusion. The second is the adaptation of the story of Mahajanaka using features of glorification, namely: the adjustment of content, creation of the story elements and creation of aesthetic elements. The role of the narratives from the story of Mahajanaka as panegyric literature indicates the dynamics of panegyric literature in that the message of glorification is now conveyed through the new media to mass audiences.Downloads
Issue
Section
Articles