กระบวนการสร้างนักประชาสัมพันธ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม The Process of Creating Participatory Community Public Relations Officer

Authors

  • รัตติกาล เจนจัด
  • ณัฐวิภา สินสุวรรณ
  • ตปากร พุธเกส

Keywords:

นักประชาสัมพันธ์ชุมชน, การเสริมศักยภาพ, การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย, Community Public Relations Officer, Capacity Empowerment, Research Utilization

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อคืนผลงานวิจัยสกว. ไปใช้ประโยชน์ในชุมชนและพื้นที่ 2) เพื่อศึกษากระบวนการติดตั้งความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับนักประชาสัมพันธ์ชุมชน โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยในทุกกระบวนการของการทำวิจัยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและนักวิจัย                                                                  ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการคืนข้อมูลให้กับชุมชนประกอบไปด้วย 1) การวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน 2) การกำหนดเนื้อหาที่จะนำไปคืนข้อมูล 3) การคืนข้อมูลกับกลุ่มผู้ส่วนมีเกี่ยวข้อง (Stakeholder) 4) การวิเคราะห์สถานภาพของสื่อในชุมชนและการนำเอาข้อมูลจากการคืนข้อมูลให้กับชุมชนไปวางแผนผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์                       การสร้างนักประชาสัมพันธ์ในชุมชน มีกระบวนการคัดเลือกคนเข้าสู่กิจกรรมพัฒนา Smart User หรือนักประชาสัมพันธ์ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่จะเข้ามาเป็นนักประชาสัมพันธ์ชุมชนต้องมีคุณลักษณะ เช่น มีความตั้งใจทำงาน ใจรักงานส่วนรวม มีความสามารถทางการสื่อสาร มีองค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยพวน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ฯลฯ                                   กระบวนการติดตั้งความรู้เรื่องการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ความรู้เรื่องกระบวนการประชาสัมพันธ์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์หรือชุมชนการวางแผน การสื่อสาร และการประเมินผลThe objectives of the research were 1) to study communication process for utilize the Office of the Higher Education (OHEC) ’s research results to the community and the area and 2) to study the equipment process of Community PR Officer with the knowledge of public relations (PR). Data Collection and research methodology used in this research were Participatory Action Research (PAR) focusing on the participation of the community and the researcher.                                                    The research found that the process of returning the research data to the community was 1) the community problem analysis, 2) the selected content that would be returned to the community, 3) the data returning to the Stakeholder, 4) the analysis of media status used in the community and the use of information from the returning of research data to the community to be used in media planning to create PR media. For the process of creating Community PR Officer, there was the process of selecting candidates for the activity to develop Smart User or Community PR Officer. The research found that the characteristics of the Smart User or Community PR Officer were, for example, having willingness to work, having willingness to work for a common purpose, having the ability to communicate, having knowledge of Thai Puan culture, and being friendly, etc.                                                        The process to equip the community with PR knowledge was divided into 4 steps; the situation or community analysis, planning, communication and evaluation.   

Downloads