การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธ: กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุในวัดเขตตำบลแม่กา อ.เมือง จ.พะเยา Elderly Care according to Buddhism: A Case Study of the Elderly Schools in Buddhist Monasteries in Maeka, Muang, Phayao

Authors

  • ประยงค์ จันทร์แดง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

การดูแลผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, วัด, Elderly Care, Elderly School, Buddhist Monasteries

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุในสังคมไทยปัจจุบัน 2) การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา และ 3) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาของโรงเรียนผู้สูงอายุในวัดเขตตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัด พะเยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารประกอบกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการผลการวิจัยพบว่า การดูแลผู้สูงอายุในสังคมไทยเริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพตนเอง ส่วนครอบครัว ชุมชน และสังคมเป็นฝ่ายช่วยเหลือตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ เช่น การตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมให้ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ส่วนการดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที โดยการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อให้สามารถพัฒนาตนตามแนวทางของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังตัวอย่างที่พระครูสุจิณกัลยาณธรรมได้จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนานักเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งรูปแบบนี้เป็นแนวทางให้กับวัดแม่กาโทกหวาก และวัดแม่กาห้วยเคียนตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นในเขตตำบลแม่กา โดยวัดทั้ง 2 แห่งนี้ ได้พยายามประยุกต์รูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน ตำบลแม่กา โดยเน้นกิจกรรมตามหลักไตรสิกขา ซึ่งวัดแม่กาโทกหวากดูจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้ผลเป็นที่น่าพอใจกว่าThis research aimed at studying the elderly care in the contemporary Thai society, the elderly care according to Buddhism, and the form of elderly care according to Buddhism employed by the elderly schools in Buddhist monasteries in Maeka Sub-district, Muang District, Phayao. It was a qualitative research conducted by reviewing documents including participatory observation and informal interview. The findings revealed that the elderly care in Thai society was based on self-care taken by the elderly themselves, whereas their family, community, and society were supporter in accordance with their physical conditions. For example, the social bound group of elders was taken care by health promotion activities in the so-called ‘Elderly School’. According to Buddhism, the elderly care was a kind of showing gratitude. The elderly’s physical and spiritual aspects were taken care to help them develop themselves by means of Tisikkhā, namely, Sila, Samādhi, and Paññā. One of the best practices was a case of Phrakhrusujinkalyanatham who initiated the elderly school and prepared reasonable activities for developing the elderly students in Phan District, Chiangrai. This type of school became a model of the other two schools in the Buddhist Monasteries, i.e. Maekatokwak Temple and Maekahuaykian Temple in Maeka Sub-district, Muang District, Phayao. The two monasteries applied the activities of learning processes based on Tisikkhā to suit the contexts in Maeka Community. However, it seemed that Maekatokwak Temple could manage teaching and learning more satisfactorily.

Downloads

Published

2021-04-30