การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการจ้างแรงงานชาวเมียนม่าร์ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย Intercultural Communication in the Burmese Workers Employment of Local Businesses in Southern Thailand

Authors

  • ปรีดา นัคเร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, มิติทางวัฒนธรรม, ทัศนคติทางชาติพันธุ์, การปรับตัว, Intercultural Communication, Cultural Dimensions, Cultural Attitudes, Working Adjustment

Abstract

การวิจัยครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนายจ้างคนไทยกับลูกจ้างชาวเมียนม่าร์ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของลูกจ้างชาวเมียนม่าร์ที่มีต่อวัฒนธรรมไทยและต่อวัฒนธรรมเมียนม่าร์ และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยระดับองค์กรที่สัมพันธ์กับความสามารถปรับตัวในการทำงานของลูกจ้างชาวเมียนม่าร์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผลการวิจัยพบว่า 1) นายจ้างคนไทยและลูกจ้างชาวเมียนม่าร์มีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 2) ลูกจ้างชาวเมียนม่าร์สะท้อนทัศนคติต่อ 2 วัฒนธรรมไปในทิศทางเดียวกัน ทั้ง 4 ด้าน แต่พบความแตกต่างด้านระยะห่างเชิงอำนาจสูงเพียงด้านเดียว 3) ทัศนคติทางชาติพันธุ์ เป็นตัวแปรทำนายความสามารถปรับตัวในการทำงานของลูกจ้างชาวเมียนม่าร์ได้มากที่สดุ แต่เป็นไปในทิศทางตรงกัน ข้าม รองลงมาคือ อายุ การศึกษา ระยะห่างเชิงอำนาจ และความรู้ด้านวัฒนธรรมไทย โดยที่ตัวแปรทั้ง 5 สามารถร่วมกัน ทำนายความสามารถปรับตัว ในการทำงานของลูกจ้างชาวเมียนม่าร์ ได้ร้อยละ 12.3 ดังนั้น จึงควรส่งเสริมอัตลักษณ์แก่ลูกจ้างชาวเมียนม่าร์ในไทย สร้างความเสมอภาคในการจ้างงาน สถานศึกษาควรให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อลดอคติระหว่างชนชาติ และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าวทั้งนายจ้างคนไทยและลูกจ้างชาวเมียนม่าร์This study aimed to investigate the intercultural communication between Thai employers and Burmese workers in the south of Thailand and compare Burmese employees’ attitude towards Thai and their own culture. In addition, the relationship between personal and organizational factors and the ability to adjust themselves to their work were examined. This study applied a mixed-method design using both the qualitative and the quantitative methods of data collection. The findings were as follows: 1) Thai employers and Burmese employees had dissimilar intercultural communication. 2) Burmese employees perceived the four aspects of the attitude towards Thai and their own culture in the same direction; however, high power distance was the only aspect that was perceived differently. 3) The ethnographic attitude was the most effective factor in predicting Burmese workers’ ability to adjust to their work, but it was in reverse direction. Next, other factors affecting the ability to adjust to their work were age, education, power distance, and Thai cultural knowledge, respectively. These 5 factors were able to explain 12.3 percent of the Burmese workers’ ability to adjust to their work. Thus, Burmese identitie and equity in workplace should be promoted. Meanwhile, education sectors should provide cultural knowledge, which could lessen racial bias and provide both Thai employers and Burmese employees public-relation channels to enhance the knowledge and understanding of law on immigrant workers.

Downloads

Published

2021-04-30