การประเมินมูลค่าสินค้าสาธารณะของศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติโดยวิธี CVM Value of Public Goods Generated by National Sport Training Center (NSTC): The CVM Approach

Authors

  • พรรณิภา อนุรักษากรกุล Department of Economics Faculty of Humanities and Social Science BURAPHA UNIVERSITY
  • นันทรัตน์ ตั้งวิฑูรธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วรรณสินท์ สัตยานุวัตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Keywords:

การประเมินค่าโดยการสัมภาษณ์จากประชาชนโดยตรง, สินค้าสาธารณะ, เศรษฐศาสตร์การกีฬา, Contingent Valuation Method, Public Goods, Sport Economics

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการประเมินมูลค่าของสินค้าสาธารณะที่เกิดจากโครงการลงทุนภาครัฐในการสร้างศูนย์กีฬาแห่งชาติ (National Sport Training Center: NSTC) ซึ่งสินค้าสาธารณะเหล่านี้มีผลกระทบภายนอกในทางบวก แม้ว่าผลประโยชน์ดังกล่าวจะทำการประเมินได้ยาก การศึกษานี้ใช้วิธีการประเมินแบบ Contingent Valuation Method (CVM) โดยลงพื้นที่สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวเพื่อวัดประโยชน์จากสินค้าสาธารณะที่ได้รับจากการกีฬาเช่น ความภูมิใจในชาติ และความสามัคคีในชาติ พบว่าเทคนิค CVM นั้นมีความเหมาะสมในการประเมินความเต็มใจที่จะจ่ายในรูปตัวเงินสำหรับสินค้าสาธารณะหรือสินค้าที่ไม่มีตลาดอื่นๆ โดยคำถามจะนำไปสู่การวัดมูลค่าของสินค้าดังกล่าวและความคุ้มค่าในการลงทุนของรัฐ โดยมีการสำรวจระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 ในจังหวัดสำคัญในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา และชลบุรี       การศึกษานี้ใช้วิธี Ordinary Least Square (OLS) ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ ผลวิเคราะห์พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า NSTC สามารถผลิตสินค้าสาธารณะดังกล่าวได้ และมีการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับสะท้อนออกมาจากความสามารถในการประเมินมูลค่าประโยชน์ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมของผู้ตอบแบบสอบถามต่อสินค้าสาธารณะ เช่น ความภาคภูมิใจและความสามัคคีของคนในชาติได้ ผลการศึกษาพบว่า ความเต็มใจที่จะจ่ายต่อการสร้างความภูมิใจในชาติและความสามัคคีนั้นขึ้นอยู่กับเพศ อาชีพ รายได้และความสนใจในกีฬา โดยมูลค่าความเต็มใจจ่ายต่อการสร้างความสามัคคีในชาติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.24 บาทต่อเดือนและความภาคภูมิใจในชาติเฉลี่ยเท่ากับ 20.22 บาทต่อเดือนThis research aimed to valuate National Sport Training Center (NSTC), the public goods, which will be constructed by the public investment project. Although the project generates valuable public goods and positive externalities, it is difficult to value the benefits of public goods. Contingent Valuation Method (CVM) was used for valuation. The surveys were conducted and the data were then analyzed to measure the benefits such as national pride and harmony which were derived from the sports public good. The findings showed that the CVM was suitable to estimate willingness-to-pay for sports public goods or products not available in other markets. Also, there were questions asking how much sports’ value was and whether the public good was worth investing. The survey was conducted from October to November 2017 in the main provinces of each region which are Bangkok, Konkan, Chiangmai, Songkla, and Chonburi. The results were estimated by using Ordinary Least Square (OLS). From the analysis, it was found that the respondents believed that NSTC would be able to produce such public goods and they perceived the derived benefits such as national pride and harmony which were reflected from their ability to valuate concretely. From the study, it was found that the willingness to pay on national pride and harmony depended on gender, occupation, income, and interest in sports. The results revealed that the average value the respondents were willing to pay on national harmony equaled 19.24 baht per month and the average value of national pride was 20.22 baht per month.                                                                             JEL: A10, H41, C49

Downloads

Published

2021-04-30