จังหวะในการพูดของเด็กไทยช่วงอายุ 5-7 ปี Speech Rhythm of Thai Children Aged 5-7 Years

Authors

  • ศศิทร นพประไพ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภาษาพูดของเด็ก, จังหวะการพูด, หน่วยจังหวะ, Child’s Speech, Speech Rhythm, Rhythmic Unit

Abstract

บทความนี้เป็นการศึกษาจังหวะในการพูดของเด็กไทยช่วงอายุ 5-7 ปี  มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของจังหวะในการพูดภาษาไทยของเด็กกลุ่มดังกล่าว  ผู้ให้ข้อมูลภาษาเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 10 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 3 และประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มละ 5 คน โดยครูประจำชั้นเป็นผู้คัดเลือกจากผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและพูดภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาแม่  ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นเสียงพูดต่อเนื่องมีความยาวรวม 30 วินาทีต่อผู้ให้ข้อมูลภาษาหนึ่งคน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยวัดค่าระยะเวลาของหน่วยจังหวะและค่าระยะเวลาของพยางค์หนักและพยางค์เบาเพื่อนำมาคำนวณหาค่าระยะเวลาเฉลี่ยของหน่วยจังหวะและพยางค์  จากนั้นจึงหาค่าความแตกต่างทางสถิติด้วย Analysis  of  Variance  (ANOVA)  ผลการศึกษาพบโครงสร้างหน่วยจังหวะทั้งสิ้นสี่แบบ  โดยพบหน่วยจังหวะแบบพยางค์เดียวมากที่สุด  ค่าระยะเวลาของพยางค์หนักและพยางค์เบามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จังหวะในการพูดของเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นจังหวะแบบใด  อย่างไรก็ตาม  อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะที่ค่อนไปทางจังหวะแบบที่ใช้พยางค์เป็นเครื่องกำหนด  และเริ่มปรากฏแนวโน้มที่อาจจะเปลี่ยนไปสู่จังหวะแบบมีการลงเสียงหนักเบาเป็นเครื่องกำหนดThis research/study aimed to analyzed and classified the characteristics of speech rhythm among children aged 5-7 years old. Ten students from La-Or UTIS Demonstration School, five from kindergarten 3 and five from grade 1, participated in this study. The homeroom teachers selected the participants according to the following criteria: age range from 5 to 7 years old, based in Bangkok and using Standard Thai as their native language. The 30-second connected speech of each participant was recorded and each rhythmic unit duration was calculated and averaged. ANOVA was employed to compare and explain the rhythmic unit duration of each group. The results showed a significant difference between stressed and unstressed syllables. It was unclear to specify the type of speech rhythm of a child’s speech. However, it was similar to syllable-timed rhythm as the number of syllables per foot was a few. Apart from that, the emergence of stress-timed rhythm was observed in this age group.

Downloads

Published

2021-04-30