พลังกลุ่มไร้สังกัดในสังคมไทย: กรณีศึกษาว่าด้วยการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่แบบไร้องค์กรนำ The Power of Organizing without Organizations in Thai Society: Case Study of the New Social Movement without Leading Organizations

Authors

  • สมัชชา นิลปัทม์

Keywords:

การเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่, การเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่แบบไร้องค์กรนำ, พลวัตกลุ่มแบบใหม่, New Social Movement, New Social Movement without Leading Organizations, Modern Group Dynamics

Abstract

บทความชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดลองนำข้อเสนอจากหนังสือเรื่อง Here Comes Everybody: The Power of Organizing Without Organizations โดย เคลย์ เชอร์กี้ นักการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ที่กล่าวถึงโลกของสังคมเครือข่ายภายหลังการเกิดขึ้นของระบบเว็บ 2.0 จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อพลวัตกลุ่มทางสังคมแบบใหม่ รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มองค์กรทางสังคม (Organization) ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาใช้มาเป็นกรอบในการมองปรากฏการณ์ในสังคมไทยผ่านเครื่องมือที่สามารถสร้างผลกระทบต่อการรวมกลุ่มแบบใหม่ 3 ระดับ คือ 1) การแบ่งปัน (sharing) 2) การประสานงานกัน (cooperative) และ 3) การเคลื่อนไหวเป็นกลุ่ม (Collective Action) โดยวิเคราะห์ผ่าน 4 กรณีศึกษาในสังคมไทย พบว่าเครื่องมือทางสังคมแบบใหม่นี้ได้ช่วย “เสริมพลัง” (Empower) และ “ขยายเสียง” (Advocate) ให้กับ “ผู้คนสามัญ” (Ordinary People) ในการบอกเล่าเรื่องราวความเดือดร้อนของตนและชุมชน ทั้งยังมีศักยภาพในการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในเครือข่ายร่วมกัน จากการศึกษายังพบว่า เครื่องมือนี้เอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มทางสังคมที่สำคัญในสองระดับแรก แต่ยังขาดศักยภาพที่จะไปสู่ “การเคลื่อนไหวเป็นกลุ่ม” (Collective Action) ได้รวมถึงการรักษาพลังของการรวมกลุ่มให้เกิดความยั่งยืนยังเป็นข้อท้าทายอย่างยิ่งThe objective of this article is to bring the conceptual idea in “Here Comes Everybody: The Power of Organizing without Organizations,” written by the communication scientist-Clay Shirkey whose scholarly interests are on social change phenomena and he proposes social network’s system after the emergence of WEB 2.0 which impacts on the dynamics of new social movement, and it changes the way social organizations are formed. The framework to understand phenomena in Thai society by three-level process in the formation of social organization is as follows: 1) Sharing, 2) Cooperation, and 3) Collective Action.      In this article, four case    studies in Thailand are investigated. The finding shows this new social tool is not only able to empower and help ordinary people to advocate their individual and communal problems through story-telling but also potentially allows members of the intra-network to connect and exchange information to each other. Furthermore, this tool fairly helps facilitating the social organizations at two prior levels. Nevertheless, there’re still challenges for social organizations to transform their action into “collective action” level, and to sustainably maintain the leverage of groups.

Downloads

Published

2021-06-29