พฤติกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 Performance Appraisal Behaviors of the Regional Education Office No.9 Primary School Performance Appraisers

Authors

  • บงกช นักเสียง
  • มานพ ชูนิล
  • ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์

Keywords:

พฤติกรรมการประเมินผลปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล, ผู้ประเมินผลปฏิบัติงาน, การประเมิน ผลการปฏิบัติงาน, Effective Performance Appraisal Behaviors, Performance Appraiser, Performance Appraisal

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 24 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้เป็นคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานจากโรงเรียนที่ได้รับรางวัลระดับชาติ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลที่สำคัญ ได้แก่ การแจ้งนโยบายและแนวทางการประเมินผล การปฏิบัติงาน การสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร การสังเกต การเก็บข้อมูล การค้นข้อมูลกลับคืน การบูรณาการข้อมูลการประเมิน และการให้ข้อมูลป้อนกลับ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสถานการณ์ หมายถึง สภาวะการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้นในการประเมินผล ประกอบด้วย 1) เป้าหมายขององค์การ 2) แบบบันทึกรายการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 3) มีความรับผิดชอบในผลการประเมินการปฏิบัติงาน ปัจจัยส่วนบุคคล หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานมีสิ่งต่าง ๆ 6 ประการ ได้แก่ 1) มีความยุติธรรม เที่ยงตรง    2) ยึดหลักธรรมภิบาล 3) รับรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ประเมินผลปฏิบัติงาน 4) มีแรงจูงใจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 5) มีเจตคติต่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 6) มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานThe purposes of this research were to investigate the effective performance appraisal behaviors and the factors which influenced these behaviors. The qualitative research methodology was used in the study. The data were collected from 24 key informants, including school directors and the performance appraisal committees from the national award winning primary schools under the Office of Education Region 9 by semi-structured interview method. The results showed that the effective procedure of performance appraisal behaviors procedure consisted of notification of policy and guidelines for performance appraisal, promotion of the participation among officials, observation, data collection, retrieval  and integration of information, assessment, and feedback. Factors relating to effective performance appraisal which were situational factor which included environmental conditions that occurred in the evaluation. The three factors included 1) the organization’s goals; 2) the performance appraisal form; and 3) the responsibility for the performance evaluation. Six personal factors, related to performance appraisers were 1) fairness, 2) good governance, 3) self-efficacy to perform performance appraisal, 4) motivation to performance appraisal, 5) attitudes toward performance appraisal, and 6) knowledge and understanding of performance appraisal.

Downloads

Published

2021-06-29