มุ่งสู่ชุมชนผู้ประกอบการ: โอกาสและแรงบีบคั้น ทางเศรษฐกิจการเมืองของชาวประมงกว๊านพะเยา Into the Community of Entrepreneurs: The Eco-Political Chances and Advancement of the Fisherman of Kwan Phayao

Authors

  • มนตรา พงษ์นิล

Keywords:

ชาวประมง, จังหวัดพะเยา, วิสาหกิจชุมชน, ผู้ประกอบการ, Fisherman, Phayao Province, Community Enterprise, Entrepreneur

Abstract

บทความวิจัยนี้ศึกษา 1) การพัฒนาความเชื่อและระบบความสัมพันธ์ของชุมชนชาวประมงกับปรากฏการณ์ปลาขึ้น/ปลากอง และ 2) ศึกษาโอกาสและแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจการเมืองของชาวประมงกว๊านพะเยาในบริบททางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เกิดการมุ่งไปสู่การปรับตัวของกลุ่มชาวประมง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าชาวประมงกว๊านพะเยาใช้ปรากฏการณ์ปลาขึ้น/ปลากอง สร้างระบบความเชื่อในการอนุรักษ์กว๊านพะเยา และนำไปสู่การปรับบทบาทจากการจับปลาไปสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน การปรับตัวดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์กับรัฐและเอกชนในบริบททางประวัติศาสตร์    การพัฒนากว๊านพะเยา จากผู้ถูกกระทำ ผู้ตอบโต้ ผู้ร่วมมือ และผู้สร้างการนำในการพัฒนากว๊านพะเยาตามลำดับ การวิจัยนี้เสนอว่า โอกาสและแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจการเมืองของการพัฒนากว๊านพะเยา ทำให้ชาวประมงพยายามจัดการกลุ่มโดยพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจ การหาปลา สินค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมประเพณี นโยบายจังหวัดเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งกำลังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสำนึกจากการทำประมงไปสู่ความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นThis research article explores the following: 1) the advancement in beliefs and the relationships of fishing communities and the phenomena of fish rise/fish egging and 2) researching the chances and political economic influences of Kwan Phayao fishermen in historical contexts that can lead to adaption by fisherman groups via extensive research, including interviewing people with key information and group discussion. This research’s results have shown that Kwan Phayao fishermen seem to use the fish rise/fish egging phenomena to create a belief system in preserving Kwan Phayao and this leads to the adaptation of the roles from fishing into community enterprise group. This mentioned adaption was resulted by the interactions between the government and the private sectors in contexts of the history of the improvement of Kwan Phayao by impactors, nonconformists, collaborators and creators respectively. This research has suggested that the chances and political economic pressures in the improvement of Kwan Phayao have resulted in the fishermen attempting to manage their own groups by integrating all activities together such as the fishing economy, products, tourism, traditions and provincial policy. This reflects the change in the awareness of adjusting fishing into entrepreneurship.

Downloads

Published

2021-06-29