พฤติกรรมเชิงลึกของนิสิตมหาวิทยาลัยในการสวมหมวกนิรภัย
The Insight of University Students in Helmet Wearing
Keywords:
พฤติกรรมเชิงลึก, นิสิตมหาวิทยาลัย, หมวกนิรภัย, การสื่อสารAbstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมเชิงลึกของนิสิตมหาวิทยาลัยที่มีต่อการสวมหมวกนิรภัย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นิสิตมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 56 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตการณ์ (Observation) และสัมภาษณ์กลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะ (Focus group) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน จำนวน 3 กลุ่ม จากนั้นนำผลที่ได้จากกลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะชุดแรกมาเป็นประเด็นคำถามเพื่อค้นหาคำตอบในประเด็นเฉพาะที่ชัดเจนลงไปอีก โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักอีก 8 คน เป็นจำนวน 4 กลุ่มในการทำกลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะชุดที่สอง ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่มประกอบไปด้วย คำถามเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็นต่อสังคมรูปแบบการดำรงชีวิต รูปแบบการสื่อสารความคิด ความรู้สึก แรงจูงใจและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและการสวมหมวกนิรภัย ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่มีความเห็นด้านบวกต่อสังคมของตน มีรูปแบบการดำรงชีวิตใน 2 ลักษณะ คือ เป็นกลุ่มกิจกรรมและกลุ่มสมาคม สื่อที่เข้าถึงได้มากที่สุด คือ สื่ออินเทอร์เน็ตผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดมีความคิดเห็นตรงกันว่า มาตรการทางกฎหมายและประสบการณ์ตรงเป็นสิ่งที่จะทำให้การรณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัย 100% ได้ผลมากที่สุด The purpose of this research was to understand the insight of university students in helmet wearing. Population was 56 state university students in Meung District, Chonburi Province. The qualitative methods (Observation and Focus group) were applied. Data were collected from 3 groups of respondents (8 in each group). Then, the researcher applied those results into questionnaires to collect the significant data to confirm the specific factors by selecting other 4 groups of respondents (8 in each group). Questionnaires for the focus group were used to ask about personal factors, lifestyle, communication tools, cognitive component, affective component, motivation and behavior that impacted safety concern including the practice in helmet wearing. The findings indicated that most respondents had a positive opinion on their society. Their lifestyles were divided into 2 groups that were the activist and the social group. Internet was the media that could reach them the most. Among other things, all respondents agreed that legal measures and direct experience were factors that would lead to a 100% successful Helmet Wearing Campaign.References
ชีติพัทธ์ ขอนพิกุล, นภดล กรประเสริฐ, และปรีดา พิชยาพันธ์. (2558). การเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในมหาวิทยาลัย. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 2, (หน้า 1-5). ชลบุรี: ม.ป.ท.
ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือปฏิบัติการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาคน องค์กร ชุมชนสังคม = Qualitative methods: a field guide for applied research in human/ organization/community and social development (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย.
ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ. (23 กรกฎาคม 2557). “ว๊าว ! โฆษณา”. MARKETEER MAGAZINE. วันที่ค้นข้อมูล 16 มกราคม 2561, จาก https://bit.ly/3eKDecw
ผู้จัดการรายสัปดาห์. (2559). การตลาดลูกค้าเด็ก ไม่เจ๋งก็เจ๊งแน่ วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://bit.ly/2V7KkkF
ผู้จัดการรายสัปดาห์. เปิดผลวิจัยเจน Y ใครว่าเป็นตัวป่วนองค์กร. (2559). วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://bit.ly/3ePiIYx
แพรวพรรณ โสมาศรี. (2556). การศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). Gen-B, Gen-X, Gen-Y, Gen-Z คืออะไร? เสี่ยงโรคอะไร?. วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://bit.ly/3BteH5P
วฤดา วรอาคม. (2557) 5 อินไซต์เจเนอเรชั่นซี. กรุงเทพธุรกิจ, วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://bit.ly/3x2Jvqm
วัฒนวงศ์ รัตนวราห. (2557) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสวมใส่หมวกนิรภัยโดยใช้สมการโครงสร้างพื้นฐานทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในสังคมเมืองและชนบท (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิเลิศ ภูริวัชร. (2555). Human Insight ไม่ใช่แค่ Consumer Insight. กรุงเทพธุรกิจ, วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://bit.ly/3eOvS7V
ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2559). Marketing 101: เข้าใจ Consumer Insight ด้วยหลัก 3s. Marketeer. วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://marketeer.co.th/archives/75641
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. (2558) รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2558, วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2559, จาก https://bit.ly/3kNBq6s
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2554). มติคณะรัฐมนตรี. วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2559, จาก http://www.cabinet.thaigov.go.th/
องค์กรอนามัยโลก. (2558) รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน. วันที่ ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2559, จาก https://bit.ly/3rBXS44
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (พิมพ์ครั้งที่ 6 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cody S. O. et al. (2016). Motorcycle helmet effectiveness in reducing head, face and brain injuries by state and helmet law. Retrieved September 2016, from https://bit.ly/37a2XqZ
Fong, M. C. et al. (2015). Rates of motorcycle helmet use and reasons for non-use among adults and children in Luang Prabang, Lao People’s Democratic Republic. Retrieved September 2016, from https://bit.ly/2V4uQhk
Kauffman, J. M. (1997). Characteristics of emotional and behavioral disorder of children and youth (6th ed.). N.J.: Merrill/Prentice Hall, One Lake Street, Upper Saddle River.
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2010). Marketing 3.0: from products to customers to the human spirit. Hoboken, NJ: Wiley.
Newcomb, T. M., et al., (1967). Persistence and change: Bennigton College and its students after 25 years, New York: Wiley.
Perreault, W.D., Cannon, J. P., and McCarthy, E. J. (2015). Essential of marketing, a marketing strategy planning approach. New York: McGraw-Hill Education.
Pickrell, T. M., & Li, R. (2016). Motorcycle helmet use in 2015-overall results. Retrieved September 2016, from https://bit.ly/36TNJG6
Positioning Magazine. (2554, 11 กุมภาพันธ์). ลึกสุดใจ…Consumer Insight แบบไหนถึงจะโดน... วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://positioningmag.com/13450
Positioning Magazine. (2558, 10 สิงหาคม) โจทย์การตลาดวัยรุ่น นับวันยิ่งยาก. วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://bit.ly/36TNE5g
Prochaska, J.O., Norcross, J.C., Diclemente, C.C. (2006). Changing for good. A revolutionary six-stage program for overcoming bad habits and moving your life positively forward. New York: Harper Collins Publishers
Safe Cycling. (1998). Motorcycle helmet research. Retrieved September 2016, from https://bit.ly/3iBLaOB
The IDM Content. (2015, 20 January) The 4 essential elements of true customer insight. Retrieved February 2017, from https://bit.ly/3x2jIPb
United Nations Economic Commission for Europe. (2016). The United Nations motorcycle helmet study. Retrieved September 2016, from https://bit.ly/2W1fnPl
Vroom, V. H. (1964). Work and motivation, New York: John Wiley & Sons.