การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านละครและภาพยนตร์จากนิทานพื้นบ้าน บ้านแก่งปลาปก ตำบลชม เจริญ อำเภอปากชม จังหวัดเลย

Creative Economy Development by Play and Film from Folklores in Bann Khaengplapok Chomcharearn Sub-District, Pakchom District, Loei Province

Authors

  • ฐานชน จันทร์เรือง
  • ภัทรธิรา ผลงาม

Keywords:

เศรษฐกิจสร้างสรรค์, นิทานพื้นบ้าน, ละคร, ภาพยนตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านละครและภาพยนตร์จากนิทานพื้นบ้าน บ้านแก่งปลาปก ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ ประเด็นสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชนบ้านแก่งปลาปก 1) บ้านแก่งปลาปกมีนิทานพื้นบ้านทั้งหมด 9 เรื่อง คือ เจ้าหญิงเวียงฟ้าผีห่าก้อม ก้างปลาปกเสือสำลีขีลืม นางเสือตามพ่อ สมบัติห้วยเอียน ผีกองกอยเลี้ยงลูกพรานด่อนกินไก่ และเปรตวัดท่าสะอาด มีคุณค่าทั้งหมด 5 ด้าน คือ คุณค่าด้านการศึกษา และเสริมสร้างจินตนาการ คุณค่าด้านด้านช่วยกระชับความสัมพันธ์ของครอบครัวและชุมชน คุณค่าด้านที่ช่วยสะท้อนสภาพสังคมในอดีต คุณค่าด้านให้ข้อคิดและคติเตือนใจ 2) สภาพปัจจุบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากนิทานพื้นบ้านบ้านแก่งปลาปกพบว่านิทานพื้นบ้านที่ยังใช้ประโยชน์อยู่มี 4 เรื่อง คือ ผีห่าก้อม ก้างปลาปก ผีกองกอยเลี้ยงลูก และเปรตวัดท่าสะอาด มีการนำมาใช้ประโยชน์ตามวาระโอกาสงานพระเพณีของหมู่บ้าน โดยสภาพปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากนิทานพื้นบ้าน พบว่ามีความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากนิทานพื้นบ้านบ้านแก่งปลาปก The aims of this research were to develop Creative Economy from the folklores in Bann Kheangplapok with the collaboration from relevant parties. Qualitative data were collected with in-depth interviews, and focus group discussions were conducted with the target groups including the community leaders, senior villagers, entrepreneurs, school directors and parents form the Bann-Kheangplapok School.   The results of the study were as follows: 1) Bann Kheangplapok had 9 folklores: The values of the stories could be put into 5 categories: educational value, creative values, values to strengthen family and community’s relationship, values of the reflection on the old ways of society, values on virtues, and values on mottos. 2) From the current situation on the creative economic development, it was found that four folklores at Bann Kheang Pla Pok that were still beneficial were Pee Ha Gom, Kang Pla Bok, Pee Kong Koi Liang Look, and Pret Wat Tha Sa-arrd. They were still used in valuable ways when there was the occasion of the village’s traditional ceremony. From the problems in creative economic development from folklores, it was found that there were needs for developing creative economic from folklores of Bann Kheangplapok.

References

กิจติพงษ์ ประชาชิต และคณะ. (2557). ผลของการ์ตูนแอนิเมชันที่มีต่อการรับรู้และจิตสำนึกด้านวัฒนธรรมของชาวจังหวัดศรีสะเกษ พิษณุโลก: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิตตรา มาคะผล และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2557). แนวทางส่งเสริมชุมชนสร้างสรรค์ในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1-2), 197-210.

จันทร์ ลีลาศาสตร์สุนทร. (2555). การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบของโรงเรียนโดยใช้ละครของบ้านเรียนมรดกใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะคุรุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง. (2544). ละครคือชีวิต ชีวิตคือละคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า 2000.

ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2547). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ จำกัด.

ผาสุก มุทธเมธา. (2535). คติชาวบ้านกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ยศ สันตสมบัติ. (2548). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. (2539). เศรษฐกิจการคลังกับบทบาทรัฐบาลไทย. กรุงเทพฯ: สายส่งศึกษิต.

เรขา อินทรกำแหง. (2555). การวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด จับปู กรณีศึกษา: บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(1), 98-121.

วิเชียร เกษประทุม. (2549). นิทานพื้นบ้านเพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน สำหรับเด็กและเยาวชน ชุดที่ 3 ชุด อธิบายเหตุ. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

มณฑิรา ธาดาอำนวยชัย. (2552). สถานภาพความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์และศักยภาพของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในการพัฒนาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชา

นิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2537). การละครไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

Published

2022-11-10