วัฒนธรรมไท-ลาวกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี : กรณีศึกษาลุ่มน้ำสงครามตอนกลาง

The Thai-Lao Culture and The Solution of Liver Fluke and Cholangiocarcinoma: A Case Study in The Middle Songkhram River Basin

Authors

  • เทพพร มังธานี

Keywords:

วัฒนธรรมไท-ลาว, วัฒนธรรมการกินปลาดิบ, ประวัติวัฒนธรรมการกิน, การแก้ปัญหาโดยใช้มิติทางวัฒนธรรม, พยาธิใบไม้ตับ, มะเร็งท่อน้ำดี

Abstract

การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมไท-ลาวกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี กรณีศึกษาลุ่มน้ำสงครามตอนกลาง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของวัฒนธรรมการกินปลาดิบในอีสาน 2) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการกินปลาดิบของชุมชนในพื้นที่ที่สัมพันธ์กับปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และ 3) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมไท-ลาวกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคอีสาน วิธีการวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) ผลการศึกษา พบว่าในภาคอีสานพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกินปลาดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ตั้งแต่ยุคที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นถึงความชุกชุมของปลาเกล็ดขาว และพบร่องรอยปลาดิบในวรรณคดีสำคัญของอีสานที่บันทึกด้วยอักษรไทน้อยและอักษรธรรมมีวัฒนธรรมชุมชนที่สัมพันธ์กับการกินปลาเกล็ดขาวดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ และพบรูปแบบการถ่ายทอดวัฒนธรรมการกินทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชนหรือสังคม และพบว่า มิติทางวัฒนธรรมไท-ลาวกับการแก้ปัญหาทางวัฒนธรรมการกินนั้นมี 3 ระดับ คือ 1) ระดับการตระหนักรู้และความเข้าใจขั้นพื้นฐาน 2) ระดับการปรับเปลี่ยนและโต้แย้งคุณค่า แต่ประนีประนอมในทางปฏิบัติ และ 3) ระดับการสร้างการรับรู้แก่ชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับชุมชน  The objectives of this study of “The Thai-Lao Culture and the Solution of Liver Fluke and Cholangiocarcinoma: A Case Study in the Middle Songkhram River Basin” were to study: 1) the history of raw (cyprinoid) fish consumption culture in Isaan, 2) the raw (cyprinoid) fish consumption culture of communities in the study area related to problems of liver fluke and cholangiocarcinoma, and 3) Thai-Lao culture and problem solving of liver fluke and cholangiocarcinoma in Isaan. The qualitative research was used in this study. This research’s results have shown that evidence related to raw (cyprinoid) fish consumption culture has been found in Isaan since the era with written evidence showing the abundance of cyprinoid fish, and traces of raw cyprinoid fish eating had been found in the important literature of Isaan recorded with Tai Noi and Dharma characters. There was also a community culture that has been related to eating raw or partially cooked cyprinoid fish. In addition, the pattern of conveying eating culture was found in both individual level, family level, and community or social level. It was also found that in the Tai-Lao cultural dimension, the solutions of cultural eating problems were divided into 3 levels: 1) the level of awareness and basic understanding, 2) the level of modification and value argumentation but compromise in practice, and 3) the level of building awareness for the community and creating community participation.

References

กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์ และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จำเนียร มัตกิต และคณะ. (2557). รูปแบบการสร้างสำนึกเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งอาหารของชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์โคกหนองกุง ตำบลนาแก อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ปรีชา อุยตระกูล. (2560). วัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนอีสานเหนือ. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์ จำกัด.

ณรงค์ ขันตีแก้ว. (2559). เมื่อพิชิตเขาลูกแรก: มหาวิทยาลัยขอนแก่นผลักดันการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดีให้เป็นวาระแห่งชาติ. วารสารโครงการ CASCAP โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อนำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2(6), 5-8.

ทรงวุฒิ ศรีวิไล. (2556). วรรณคดีอีสาน เรื่อง สินไซ (สังข์ศิลป์ชัย). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

ธวัช ปุณโณทก. (2527). ประวัติการสืบทอดวัฒนธรรมอีสาน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ปรีชา พิณทอง. (2532). สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรม.

นวรัตน์ บุญภิละ. (ม.ป.ป.). วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านอาหารชาวภูไทในอีสาน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บุญจันทร์ จันทร์มหา. (2543). พฤติกรรมการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับซ้ำ กรณีศึกษา ตำบลบึงเนียม จังหวัดขอนแก่น. ภาคนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญชู วัดวงษา และคณะ. (2555). โครงการศึกษาองค์ความรู้ปลาธรรมชาติในเขตทุ่งกุลาร้องไห้จากภูมิปัญญาคนสาปลา บ้านโนนสวรรค์ ตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ดระยะที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พวงรัตน์ ยงวณิชย์. (ม.ป.ป.). กระบวนการก่อมะเร็งท่อน้ำดีที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพบูลย์ สิทธิถาวร. (ม.ป.ป.). ธรรมชาติวิทยาของพยาธิใบไม้ตับ. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี. (2559). ลักษณะอาการของโรคมะเร็งท่อน้ำดี. วันที่ค้นข้อมูล 18 ธันวาคม 2560, จาก https://goo.gl/VTIaBW.

ราชันย์ ถีระพันธ์. (31 มีนาคม 2561). กลุ่มอาชีพเกษตรกร. สัมภาษณ์.

วรรณวิภา มาลัยทอง และคณะ. (2552). การศึกษาประสิทธิภาพของการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ บ้านทุ่งเหียง ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา. วารสารเวชสารแพทย์ทหารบก, 5(62), 27-42.

สันต์ศิริ ศรมณี และคณะ. (2541). โรคพยาธิใบไม้ตับ รายงานทางวิชาการฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. (2557). รายงานผลการปฏิบัติราชการและผลงานเด่นของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม.

อมฤต จันทะเสน. (21 เมษายน 2561). กลุ่มอาชีพรับจ้าทั่วไป. สัมภาษณ์.

อังษณา ยศปัญญา และคณะ. (2558). ความชุกและปัจจัยที่มีต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดเลย. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น.

อุดม จูมพลหล้า และคณะ. (2549). วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของคนไทยแถบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

Downloads

Published

2022-11-10