การพัฒนาแรงจูงใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

Developing Motivation in Learning English for Communication Using Project-Based Learning

Authors

  • แอนนา ผลไสว
  • สมบูรณ์ เจตน์จำลอง

Keywords:

แรงจูงใจภายใน, แรงจูงใจภายนอก, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, การจัดการเรียนรู้, โครงงาน

Abstract

ภาษาอังกฤษมีบทบาททางด้านการสื่อสารเป็นอย่างมากในสังคมยุคปัจจุบันหากแต่นักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังขาดแรงจูงใจและไม่เห็นความสำคัญนี้ ผู้วิจัยมีความต้องการศึกษาการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน เพื่อที่ผลักดันให้นักเรียนสามารถใช้และสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ดีขึ้น โดยนำการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานมาใช้ทดลองกับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคพัทยา เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารระหว่างนักศึกษาที่ได้รับและไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และกลุ่มควบคุม นักศึกษาสาขาวิชาเครื่องกล กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตพฤติกรรม และโครงงานจากการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มทดลองมีแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกอยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มควบคุมมีแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจ โดยรวมพบว่า หลังการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  English has played a very important role in communication in this present era. However, many Thai students lacked of motivation and did not think much of its importance. The researcher thus wanted to stimulate and create motivation for students’ English development in using and communicating with foreigners. The researcher used Project-Based Learning or PBL with the first-year students of High Vocational Certificate at Pattaya Technical College to compare motivations in using English for communication between the students who received and did not receive PBL. The researcher used a Quasi-experimental Research to compare motivation between 30 students of a control group (Logistics students) and 30 students of an experimental group (Mechanical students). The data were collected with a questionnaire concerning motivation in using English for communication, a semi-structure interview, a behavioral observation form and PBL. The result showed that after using PBL, students of the experimental group had high levels of intrinsic motivation and extrinsic motivation. Students of the control group had medium levels of intrinsic motivation and extrinsic motivation. From the comparison study of motivation in using English for communication between the two groups, the result showed that motivation of students in the experimental group was higher than motivation of students in the control group at the statistically significant level of .05.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). การจัดค่ายฝึกทักษะภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนหลักสูตร. วันที่ค้นข้อมูล 30 กันยายน 2559, จาก https://bit.ly/3ztLxSc. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2559). เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 12(2), 12-21.

ธนัญญา กุลจลา และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2561). การใช้การเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนทักษะการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, 11(3), 1544-1556.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์.

ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (หน้า 240). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สรชัย พิศาลบุตร, เสาวรส ใหญ่สว่าง และปรีชา อัศวเดชานุกร. (2549). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ: จูนพับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2561). รายงานสรุปผู้บริหารแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนา EEC. วันที่ค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2561, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3Bzur76

หน่วยศึกษานิเทศก์. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based learning: PjBL). นครปฐม: สินทวีกิจ.

อารี พันธ์มณี. (2543). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิต (2556). พัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Brophy, J. (2004). Motivating students to learn. London: Michigan State University.

Chomsky, A. N. (1957). Syntactic Structures. Berlin: Mouton & Co.

Dornyei, Z. (1994). Motivation and Motivating in the Foreign Language Classroom. The Modern Language Journal, 78(3), 273-416.

Ellis, R. (1985). Second language acquisition. Oxford: Oxford University Press.

Fragoulis, I. (2009). Project-based learning in the teaching of English as a foreign language in Greek primary schools: From theory to practice. English Language Teaching, 2(3), 113-119.

Kovalyova, Y. Y., Soboleva, A. V., & Kerimkulov, A. T. (2016). Project based learning in teaching communication skills in English as a foreign language to engineering students. IJet, 11(4), 153-156.

Long, C. Ming, Z., & Chen, L. (2013). The study of student motivation on English learning in junior middle school-a case study of no.5 middle school in Gejiu. English Language Teaching, I(9), 136-145.

Marwan, A. (2015). Empowering English through project-based learning with ICT. The Turkish Online Journal of Educational Technology, 14(4), 28-37.

Petri, H. L. & Govern, J. M. (2004). Motivation theory, research, and applications (5th ed.). California: Wadsworth/Thomson Learning.

Poonpon, K. (2017). Enhancing English skills through project-based learning. The English Teacher. XL, 1-10.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). Self-determination theory and the facilitation of intrinsic motivation, social development, and well-being. American Psychologist, 68-78.

Simpson, J. (2011). Integrating project-based learning in an English language tourism classroom in a Thai university. A Doctoral of Philosophy Thesis, Faculty of Education, Australian Catholic University.

Supe, O., & Kaupuzs, A. (2015). The effectiveness of project-based learning in the acquisition of English as a foreign language. Aivars Jaupuzs Society Integration Education, 2(458), 210-218.

Walsh, K. (2010). Motivating Students to Read through Project Based Learning. New York: Fisher Digital Publications. Retrieved March 5, 2018, from: https://bit.ly/3y3wlL2

Wittgenstein, L. (1922). Tractatus logico-philosophicus. London: Kegan Paul.

Downloads

Published

2022-11-10