ร้านอาหารไทยในนครโฮจิมินห์ : ทุนความเป็นไทยการดำรงอยู่และแนวโน้ม
Thai Restaurants in Ho Chi Minh City: Capital of Thainess, Existence and Trend
Keywords:
ร้านอาหารไทย, นครโฮจิมินห์, ทุนความเป็นไทย, การดำรงอยู่, แนวโน้มAbstract
งานวิจัยเรื่อง “ร้านอาหารไทยในนครโฮจิมินห์: ทุนความเป็นไทย การดำรงอยู่และแนวโน้ม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของร้านอาหารไทยในนครโฮจิมินห์ นโยบายของรัฐบาลเวียดนามต่อนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจร้านอาหาร 2) ศึกษาทุนความเป็นไทยในธุรกิจร้านอาหารไทยกับทัศนคติของคนเวียดนามในการบริโภคอาหารไทย 3) ศึกษาการดำรงอยู่ และแนวโน้มของร้านอาหารไทยในนครโฮจิมินห์ ผลการวิจัยพบว่า หลังการเปิดประเทศและใช้นโยบาย “ด๋อย เม้ย” (เปลี่ยนใหม่) ใน ค.ศ. 1986 ของประเทศเวียดนาม นักลงทุนไทยเป็นหนึ่งในนักลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนทำธุรกิจหลายประเภทในประเทศเวียดนาม ธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นธุรกิจหนึ่งที่นักลงทุนไทยสนใจไปลงทุน โดยเฉพาะในนครโฮจิมินห์ ธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นธุรกิจที่นำเอาทุนความเป็นไทยไปเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจ นับแต่ชื่อร้าน การตกแต่งร้าน บรรยากาศ รายการอาหารการบริการ ฯลฯ อาหารไทยได้รับการต้อนรับจากคนเวียดนามเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนทางภาคใต้ที่มีทัศนคติว่า อาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ รสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอมละมุน นโยบายของรัฐบาลเวียดนามต่อการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างประเทศทุนความเป็นไทย พัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และทัศนคติที่ดีของคนเวียดนามที่มีต่อสินค้าและอาหารไทย มีส่วนอย่างสำคัญต่อการดำรงอยู่และพัฒนาการของร้านอาหารไทยในนครโฮจิมินห์ This qualitative research entitled “Thai Restaurants in Ho Chi Minh City: Capital of Thainess, Existence, and Trend” was conducted with 3 purposes: 1) to study the origin and development of Thai restaurants in Ho Chi Minh City, and Vietnamese government policy related to foreigner investor, 2) to examine the capital of Thainess in Thai restaurants and the viewpoint about consumption of Thai food of the Vietnamese, and 3) to study the existence and the tendency of Thai restaurants in Ho Chi Minh City. The findings revealed that after Vietnam opened its country and implemented “Đổi Mới” economic reform in 1986 to promote foreign investment, Thailand was one of foreign countries investing in various kinds of business in Vietnam. Thai restaurant was one of businesses that Thai investors invested in many cities, especially in Ho Chi Minh City. At the very beginning, Thai restaurants were opened to serve Thai people running business in the area. Most Importantly, capital of Thainess was included into this kind of business and we could see it from the restaurants’ names, decoration, atmosphere, menu, service etc. The food, itself, seemed to be very welcomed by the Vietnamese. The southern Vietnamese especially considered Thai food as healthy food with preferable taste and pleasant savor. In conclusion, Vietnamese government policy related to foreigner investors, capital of Thainess, economic, social, and technology development, and attitude of the Vietnamese toward Thai products and Thai food altogether had impact on the existence and the development of Thai restaurants in Ho Chi Minh City.References
ชีพโรจน์ ประพัสสร. (2017, 23 มีนาคม). เจ้าของร้าน Thai House ณ ณครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม. สัมภาษณ์.
ฐานเศรษฐกิจ. (2017). จับตาเวียดนาม เครื่องจักรทางเศรษฐกิจสำคัญของเอเชีย. วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2018, จาก http://www.thansettakij.com/content/140471
ธงชัย พานทอง. (2017, 27 มีนาคม). เจ้าของร้านช้างทอง ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม. สัมภาษณ์. สัมภาษณ์.
ธนิตา ปิติวรรณ. (2012). แนวโน้มการยอมรับอาหารไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่ออาหารไทย 4 ภาคและขนมไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิลาวรรณ แก้วอ่อน. (2007). ภาพลักษณ์ร้านอาหารไทยในสายตาชาวอเมริกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประชาสัมพันธ์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์. (2016). ธุรกิจร้านอาหารในนครโฮจิมินห์. วันที่ค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2017, จาก
https://bit.ly/3BuQKuJ
ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน. (2012). ลักษณะการบริโภคและทัศนคติต่อสินค้าไทยของชาวเวียดนาม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุทธิพร บุญมาก. (2013). ร้านอาหารไทยในประเทศออสเตรเลีย: ภาพสะท้อนความเป็นไทยและการปรับตัว, วารสารศิลปศาสตร์, 5(1), 90-103.
Thai Food to The World. (2004). รายงานผลการสัมมนา สานฝัน ครัวไทยสู่โลก. วันที่ค้นข้อมูล 13 มีนาคม 2017, จาก https://bit.ly/3BzHGF2
Vu Duy. (2013). นิมิตหมายใหม่ในความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทย. วันที่ค้นข้อมูล 18 เมษายน 2016, จาก https://bit.ly/3y1XMov
United Nations Population Fund. วันที่ค้นข้อมูล 31 ธันวาคม 2018, จาก https://danso.org/viet-nam/