ลักษณะเด่นและพลวัตของเทศกาลกินเจโรงเจบ้านหมู่ ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย

The Characteristics and Dynamics of Vegetarian Festival in BanMoo Shrine, Saochangok Sub-district, Bangkla District, Chachoengsao Province in Contemporary Thai Society

Authors

  • ชลธิชา นิสัยสัตย์
  • วัชรี ปั้นนิยม

Keywords:

ลักษณะเด่น, เทศกาลกินเจ, พลวัต, จังหวัดฉะเชิงเทรา

Abstract

โรงเจบ้านหมู่ ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงเจเก่าแก่แห่งหนึ่งของฉะเชิงเทรา มีประเพณีถือศีลกินเจเป็นเทศกาลประจำปีที่สืบทอดกันในหมู่คนไทยเชื้อสายจีนซึ่งอพยพมาตั้ง ถิ่นฐานในตำบลสาวชะโงก เมื่อร้อยปีที่ผ่านมาผู้วิจัยสนใจวิเคราะห์ลักษณะเด่นของเทศกาลกินเจ โรงเจตลาดบ้านหมู่ ตำบลสาวชะโงก และพลวัตที่เกิดขึ้นในเทศกาลกินเจ ณ โรงเจแห่งนี้ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะเด่นของประเพณีกินเจ โรงเจตลาดบ้านหมู่ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ การยึดถือและปฏิบัติตามขนบ ธรรมเนียมและพิธีกรรมการกินเจแบบดั้งเดิม มุ่งเน้นการถือศีลปฏิบัติธรรมอันเป็นหัวใจหลักของการกินเจ ใน ช่วงเดือน 9 ของชาวจีนแต่โบราณ นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นในด้านการออกโรงทานตลอดเวลา 9 วัน อาหารเจที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ เต้ากัว ซึ่งเป็นอาหารจีนโบราณของชุมชนสาวชะโงก ปัจจุบันเนื่องจากบริบทสังคมเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดพลวัตในประเพณีกินเจ จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ พลวัตด้านรูปแบบของพิธีกินเจ พลวัตด้านองค์ประกอบของการจัดประเพณีกินเจและพลวัตด้านผู้ร่วมพิธีกรรม  BanMoo Shrine, Saochangok Sub-district, Bangkla District, Chachoengsao Province is one of the oldest Shrines in Chachoengsao province. This shrine has a tradition of an annual Vegetarian Festival of Thai-Chinese people who settled in Saochangok Sub-district over a hundred years ago. This research aimed to analyze the characteristics and dynamism of rituals in Vegetarian Festival in BanMoo Shrine. The research revealed that an interesting belief of Vegetarian Festival in BanMoo Shrine is authenticity, focusing on the practice of meditation which was the main principle of vegetarianism during the ninth lunar month of the Chinese calendar. In addition, it also has alms canteen throughout nine days. The most famous vegetarian food is Tao Guo (tofu), which is traditional Chinese cuisine in Saochangok. At present, the society has impacted Vegetarian Festival’s dynamism in BanMoo Shrine three types which are pattern dynamism, component dynamism and ritualist dynamism.

References

เกตมาตุ ดวงมณี. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความเหมือนและแตกต่างของพิธีกรรมในเทศกาลกินเจของศาลเจ้าจีนในจังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 10(2), 107-122.

เจษฎา นิลสงวนเดชะ. (2557). ตำนานพระกิวหองไต่เต่กับความเชื่อในสังคมไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(2), 63-80.

ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ถาวร สิกขโกศล. (2557). เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้. กรุงเทพฯ: มติชน.

ปิยะพงษ์ ทับทิมทอง. (2554). ประเพณีการกินเจของชาวภูเก็ต: กรณีศึกษาศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยคดีศึกษา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ (2552, กรกฎาคม-กันยายน). เทศกาลและพิธีกรรมสำคัญของศาลเจ้าจีนในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(3), 113-138.

วิรัตน์ แก้วแทน. (2537). การศึกษาประเพณีกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยคดีศึกษา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมศักดิ์ คล้ายสังข์. (2549). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเยาวราช ศึกษากรณี : เทศกาลกินเจ. กรุงเทพฯ: ชุดโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อรหทัย รุ่งทวีวรนิตย์. (2550). บทบาทของเทศกาลกินเจในสังคมไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมวิทยาประยุกต์, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

Published

2022-11-11