รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ในสังคมชนบทไทยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาพื้นที่การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมของบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Lifestyle of Young Generation in the Rural Society of Northern and North-Eastern Thailand: A Case Study of Service-Learning Areas of Graduate Volunteer Students, Thammasat University

Authors

  • กนกวรา พวงประยงค์

Keywords:

รูปแบบการดำเนินชีวิต, คนรุ่นใหม่, สังคมชนบท

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ในสังคมชนบทไทยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชั่นวาย (อายุ 18 ถึง 37 ปี ณ พ.ศ. 2561) จำนวน 383 ราย ที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทของประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมของบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ปัจจัย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง พิจารณาได้ใน 3 มิติ คือ 1) ด้านกิจกรรม สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบได้ 10 กลุ่ม โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มนักสืบสานประเพณีและศาสนา กลุ่มนักบริโภคสมัยใหม่ และกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อชุมชนและอาสาสมัคร 2) ด้านความสนใจ สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบได้ 10 กลุ่ม โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มปฏิสัมพันธ์ดีกับเพื่อนบ้านและชุมชน กลุ่มบริโภคนิยมและเกาะกระแสแฟชั่น และกลุ่มใส่ใจภาพลักษณ์และดูแลสุขภาพ 3) ด้านความคิดเห็น สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบได้ 9 กลุ่มโดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มรอบรู้เรื่องสังคมและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินชีวิตกลุ่มเคารพกติกาสังคมและไม่ปรารถนาความขัดแย้ง และกลุ่มมุ่งตามกระแสแต่มองโลกตามความเป็นจริง  The research aimed to investigate the lifestyle of young generation in the rural society of Northern and North-Eastern Thailand. This research is a quantitative study. The data were collected by questionnaires from 383 generation Y (18 to 37 years old in 2018) samples who live in the service-learning areas of Thammasat University graduate volunteer  students. The data were analyzed by using descriptive statistic and factor analysis by employing principal component analysis. The results showed that the lifestyle of young generation in the rural society of Northern and North-Eastern Thailand can be considered in three dimensions: activities, interests, and opinions. First, activities can be classified into 10 groups, and the first three groups are Traditional and Religious Preservers, Modern Consumers, and Community Activist and Volunteers. Second, interests can be classified into 10 groups, and the first three groups are Good Interaction with Neighbor and Community,  Consumerism and Current Trend Followers, and Image Consciousness and Health Care. Third, opinions can be classified into nine groups, and the first three groups are Knowledgeable about Society and Positive People, Respect the Social Rules and No Desire for Conflict People, and Trendy and Realistic People.

References

กนกพร รัตนสุธีระกุล. (2557). การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของสังคมชาวนาลุ่มน้ำชี กรณีศึกษา: บ้านหนองผือ ต.หนองบัว อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม. วิทยาสารเกษตรศาสตร์สาขาสังคมศาสตร์, 35(3), 447-459.

กฤษณพจน์ ศรีทารัง, ชมภูนาฏ ชมพูพันธ์ และสรินทร คุ้มเขต. (2558). ชาวลัวะบ้านหมันขาว: การปรับตัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาราชภัฏเลย, 10(33), 86-94.

คมกริช นันทะโรจพงศ์, ภูธิป มีถาวรกุล และประสพชัย พสุนนท์. (2561). พฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่นไทย: ตัวแปรสาเหตุที่ส่งผลต่อตัวแปรพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่น. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 44-59.

ชาย โพธิสิตา. (2555). ชนบทไทยในวิถีทุนนิยม. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(4), 163-185.

เชิดชัย หมื่นภักดี. (2559). การเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวนาอีสานในจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสหวิทยาการ, วิทยาลัยสหวิทยาการ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาพร อติวานิชยพงศ์. (2557). คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 33(2), 103-127.

นภาพร อติวานิชยพงศ์, กนกวรรณ ระลึก และกนกวรรณ แซ่จัง. (2557). ชุดโครงการวิจัย ชนบทไทยในมุมมองบัณฑิตอาสาสมัคร: บทสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานศึกษาของบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, ศุทธิดา ชวนวัน และวิชาญ ชูรัตน์. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนชนบทไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและต้นสังกัด.

พระมงคล สุมงฺคโล. (2560). ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตชนเผ่าละว้า หมู่ที่ 11 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 8(2), 57-68.

วสันต์ ปวนปันวงศ์. (2560). การพัฒนาพื้นที่ชนบทให้กลายเป็นเมือง กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวดอยม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 55-80.

สุนิตย์ เหมนิล และณัฐศิริ พงศาวลี. (2561). ตลาดชุมชนในสังคมกึ่งชนบท: วิถีการทำมาหากินของคนอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารพื้นถิ่นโขงชี มูล, 4(2), 181-216.

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. (2558). รายงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP).

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2553). เสวนาที่เชียงใหม่: โฉมหน้าใหม่ของสังคมชนบทภาคเหนือ. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2Vu24qB

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2559). การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย: ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3xm7nFu

Dickey, J., & Sullivan, J. (2007). Generation shift in media habits. Media Week, 17(7), 10.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Meier, J., Austin, S., & Corcker, M. (2010). Generation Y in the workforce: Managerial challenges. The Journal of Human Resource and Adult Learning, 6(1), 68-78.

Plummer, J. T. (1974). The concept and application of life style segmentation. Journal of Marketing, 38(1), 33-37.

Solomon, M. R. (2015). Customer behavior: Market survey (11th ed.). Boston: Pearson.

Van den Bergh, J., & Behrer, M. (2011). How cool brands stay hot: Branding to generation Y. Great Britain: Kogan Page.

Van Meter, R. A., Grisaffe, D. B. G., Chonko, L. B., & Roberts, J. A. (2012). Generation Y’s ethical ideology and its potential workplace implications. Journal of Business Ethics, 117(1), 93-109.

Williams, K. C., & Page, R. A. (2011). Marketing to generations. Journal of Behavioral Studies in Business, 3(3), 1-17.

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

Published

2022-11-18