การเพิ่มมูลค่าของที่ระลึกทางวัฒนธรรมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบกล่องดนตรีทำนองเพลงอีสาน หมู่บ้านไทแสก จังหวัดนครพนม
Value added in Cultural Souvenir with Local Wisdom by Putting Isan Melody of Thai Saek Community, Nakhon Phanom Province in Music Boxes
Keywords:
หมู่บ้านไทแสก , ภูมิปัญญาท้องถิ่น, กล่องดนตรี, ทำนองเพลงอีสาน , การเพิ่มมูลค่าAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมดนตรีและของที่ระลึกของชนเผ่าไทแสก เพื่อเพิ่มมูลค่าของที่ระลึกในรูปแบบกล่องดนตรี และเพื่อประเมินความพึงพอใจผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 2) กระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากทำนองเพลงไทแสก โดยการวิเคราะห์ เรียบเรียง แปลงข้อมูลเป็นวิธีบรรเลงของกล่องดนตรี 3) เก็บข้อมูลความพึงพอใจผู้บริโภคจาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 123 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจงจากนักท่องเที่ยวเผ่าไทแสก เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสรุปผลเป็นรายข้อ พบว่า ชนเผ่าไทแสกมีประเพณีที่สำคัญ คือ พิธีกินเตดเดน บวงสรวงโองมู้ โดยการแสดงแสกเต้นสากเป็นการแสดงประกอบดนตรีสองบทเพลง ได้แก่ 1) เพลง หวึ่นหม่อลุมหม่อ 2) เพลงโรมไถ้แถรก ผู้วิจัยเลือกบทเพลงที่ 1 วิเคราะห์ความเหมาะสม โดยเพลงมีทำนองหลักชัดเจน ทำนองหลักไม่ยาวเกินไป และช่วงเสียงไม่กว้างเกิน จำนวนเสียงในกล่องดนตรี เมื่อสร้างผลิตกล่องดนตรีที่มีทำนองเพลงของเผ่าไทแสกแล้ว นำมาประกอบกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของเผ่าไทแสกเพื่อเพิ่มมูลค่า ความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับกลาง The purposes of the current study were to study music cultures and souvenirs of Thai Saek Ethic group in order to create value-added of Thai Saek music box and to evaluate consumers’ satisfaction of the developed Thai Saek music box. The study was divided into 3 phases including 1) In-depth interview with key informants–At this stage, targeted groups were purposively selected and the data were analyzed. 2) The creation of Thai Saek music box phase which aimed to utilize the knowledge of Thai Saek music culture to analyze, arrange, and adjust music to produce melody used in the music box creation, and 3) The satisfaction evaluation phase–123 subjects were selected using purposive sampling method from tourists traveling in the community to complete five-scale questionnaires. The statistics used in the data analysis were Mean, Standard Deviation, and Percentage. The findings can be concluded as follows: The results of the study indicated that the important tradition of the community was “Kin Tet Den”, a ceremony held to worship Ong Moo, the holy spirit of the community. “Saek Ten Sak” was performed in this ceremony. Two songs used in this performance are 1) “Wuoun Mo Lum Mo” and 2) “Roam Tae Trak”. The first song was selected to be used in music box because of its salience of the theme, length of the theme and the range of the melody. The developed Thai Saek music box was found to be satisfied at an average level.References
กฤติกา สายณะรัตร์ชัย. (2554). ส่วนประสมทางการตลาดของสินค้าและของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.
มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ. กรุงเทพฯ: พิฆเนศปริ๊นติ้งเซ็นเตอร์.
รัชนีวรรณ บุญอนนท์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมรดกทางวัฒนธรรมตำบลไตรตรึงษ์ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(ฉบับพิเศษ), 267-278.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.
สุกฤตา หิรัณยชวลิต. (2559). นวัตกรรมของฝากจากทุนทางวัฒนธรรม. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัย กรุงเทพ, 36(2), 14-22.
อเนก นาวิกมูล และณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2550). เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สารคดี.