ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของนักเรียนนายเรืออากาศต่อโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช
Factors Affecting the Engagement Level of Cadets of the Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Air Force Academy
Keywords:
ความผูกพันต่อองค์การ, ความผูกพัน, นักเรียนนายเรืออากาศ, ต้นทุนทางจิตวิทยา, ความสัมพันธ์Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความผูกพัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของนักเรียนนายเรืออากาศต่อโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช ประชากร คือ นักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ 1-5 ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2562 มีผู้เข้าร่วมวิจัย 364 คน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยพบว่า ระดับความผูกพันของนักเรียนนายเรืออากาศต่อสถาบัน การศึกษาของตนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย 3.79 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66) แต่ละองค์ประกอบพบว่า ความเชื่อมั่นในค่านิยมและนโยบายขององค์การอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย 3.65 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86) ความกระตือรือร้นอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย 3.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73) และการมีส่วนร่วมกับองค์การอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย 3.93 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66) รวมทั้งปัจจัยที่ร่วมกันทำนายความผูกพันของนักเรียนนายเรืออากาศ คือ ต้นทุนทางจิตวิทยา เหตุผลที่เข้าศึกษาด้วยต้องการเป็นนักบินทหาร ระดับชั้นปี 4 การได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง รายได้รวมครอบครัวต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน เหตุผลที่เข้าศึกษาด้วยต้องการเป็นทหารอากาศและมีอาชีพมั่นคง โดยทั้งหมดนี้ร่วมกันทำนายความผูกพันจากค่าของสมการการวิเคราะห์ได้ร้อยละ 53.9 (R Square = 0.539) ที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ซึ่งผลที่ได้นี้จะนำไปประยุกต์ในการพัฒนาองค์การต่อไป This research aims to study the level of engagement of cadets of the Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Air Force Academy as well as the factors that affect it. The 364 research participants were comprised of first-year to fifth-year level air cadets of the academy during the 2019 academic year. Percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression were the statistical methods used to analyze the data obtained. The results revealed that the engagement level of the air cadets with the academy was moderately high (mean 3.79, S.D. 0.66). The first component was the trust in the policies of the institution which showed a relatively high level (mean 3.65, S.D. 0.86). The second component was alertness which was at a relatively high level as well (mean 3.78, S.D. 0.73). The third component was the participation of the institution which, similar to the first two components, was also found to be at a relatively high level (mean 3.93, S.D. 0.66). Seven variables were identified as factors that affect the engagement level. They included psychological capital, the need to be a military pilot, the fourth-year level of study, holding at least two positions of leadership, having less than 20,000 Baht of the household income, the desire to become an air force officer and the need for a stable career. These factors explained the variance of the level of institutional engagement up to 53.9 percent (R Square = 0.539) with a significance level of 0.05. The finding will be applied in the organizational development.References
กองทัพอากาศ. (2561). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2581) ฉบับเผยแพร่). กรุงเทพฯ: กองทัพอากาศ.
ชนิตา แตงอุดม. (2562). การวิเคราะห์ทฤษฎีต้นทุนทางจิตวิทยาและแนวทางประยุกต์ใช้ในกลุ่มเด็กและเยาวชน. วารสารวิชาการและวิจัยทางสังคมศาสตร์, 14(3), 1-14.
ดลฤดี เพชรขว้าง และนันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี พะเยา. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
นักรบ หมี้แสน, จารุวรรณ สกุลคู, อรรณพ โพธิสุข และสุชาดา สุธรรมรักษ์. (2557). ความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สุทธิปริทัศน์, 28(88), 255-270.
วาริกา ริ้วเหลือง. (2553). การศึกษาความผูกพันต่อองค์การของไทย. วารสารการเมืองการบริหาร และกฎหมาย, 2(2), 125-160.
สองชัย นักจะเข้ และสุพัตรา จุณณะปิยะ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร กรมการทหารช่างค่ายภานุรังษี จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(2), 143-151.
สุกานดา ศุภคติสันติ์. (2540). ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2548). คู่มือการวัดทางจิตวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย.
สุณิศา คิณทรักษ์. (2561). ต้นทุนทางจิตวิทยา ความเป็นมา องค์ประกอบและการประยุกต์ใช้. วารสารจิตวิทยา คลินิก, 49(2), 55-69.
หฤทัยทิพย์ ตัณฑเทศ. (2557). จิตวิทยากับการทหาร: การประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพกำลังพล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 2(2), 47-52.
อวิรุทธ์ เวียงเก้า, ปรียานุช อภิบุณโยภาส และสิริจินต์ วงศ์จารุพรรณ. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานของนักเรียนนายเรือ ที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันกับกองทัพเรือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 6(6), 80-88.
Allen, N. J., & Meyer J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1996). Affective, continuance, and normative commitment to the organization: An examination of construct validity. Journal of Vocational Behavior, 49(3), 252-276.
Christian, M. S., Garza, A. S., & Slaughter, J. E. (2011). Work engagement: A quantitative review and test of its relations with task and contextual performance. Personnel Psychology, 64(1), 89-136.
Eggert, L. L., Thompson, E. A., Herting, J. R., Nicolas, L. J., & Dicker, B. G. (1994). Preventing adolescent drug abuse and high school dropout through an intensive school-based social network development program. American Journal of Health Promotion, 8(3), 202-215.
Lorenz, T., Beer, C., Pütz, J., & Heinitz, K. (2016). Measuring psychological capital: Construction and validation of the compound psycap scale (CPC-12). Plos One, 11(4), 1-17.
Luthans, F., Youssef, M. C., & Avolio, B. J. (2007). Psychological capital: Developing the human competitive edge. Oxford: Oxford University Press.
Padhi, B., & Panda, K. (2015). A study on employee engagement models for sustainability of organization. International Journal of Research and Development-A Management Review, 4(4), 79-85.
Phatthatayuttawat, S., Tuntatead, H., Auampradit, N., Manussirivithaya, V., & Ngamthipwatthana, T. (2018). The development of Thai psychological capital inventory: Version 44 item. The Journal of the Medical Association of Thailand, 101(1), 80-84.
Shuck, B., Reio, T. G., & Rocco, T. S. (2011). Employee engagement: An examination of antecedent and outcome variables. Human Resource Development International, 14(4), 427-445.
Smithikrai, C., & Pusapanich, P. (2017). Factors influencing work engagement and organizational commitment of Chiang Mai University staff. Kasetsart Journal of Social Sciences, 38(2), 655-667.
Strellioff, W. K. (2003). Building a strong work environment in British Columbia’s public service. Retrieved form https://bit.ly/2WNMary
Yomna, M. S. (2018). Innovative behavior and psychological capital: Dose positivity make any difference?. Journal of Economics and Management: University of Economics in Katowice, 32(2), 75-101.