การออกแบบตัวละครในภาพยนตร์ เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 ภายใต้แนวคิดนพลักษณ์
The Design of Characters in the Mekhong Full Moon Party Movie Based on the Enneagram Concept
Keywords:
นพลักษณ์, การออกแบบตัวละคร, ภาพยนตร์ไทย, 15 ค่ำ เดือน 11, วันออกพรรษาAbstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์การออกแบบตัวละครหลักในภาพยนตร์ไทยเรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 ด้วยแนวคิดนพลักษณ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหาตัวละครหลักจากภาพยนตร์ดังกล่าว จำนวน 12 คน ผ่านการตีความบุคลิกภาพ บทสนทนา และการแสดงออกของตัวละครจากการชมภาพยนตร์ด้วยตนเองของนักวิจัย การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์และบทวิจารณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบตัวละครในภาพยนตร์ดังกล่าวสอดคล้องกับกรอบแนวคิดนพลักษณ์ ตัวละครที่มีลักษณ์คงเดิม มีจำนวน 7 คน ตัวละครที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณ์ตามสถานการณ์มีจำนวน 5 คน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปตามธรรมชาติของนพลักษณ์ ดังนั้น การนำแนวคิดนพลักษณ์นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบตัวละครในภาพยนตร์นั้นเพื่อเป็นการพัฒนางานภาพยนตร์ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น The objective of this research is to analyze the design of the main characters in the film Mekhong Full Moon Party based on the Enneagram concept. This qualitative research involves an analysis of the twelve main characters by interpreting their personalities, conversations, and actions. The data were drawn from the author’s responses to the film, film-related documents and reviews, as well as in-depth interviews with the screenwriter and film director. The results showed that the design of characters in Mekhong Full Moon Party is congruent with the Enneagram theory. Seven characters have permanent personality types, while five others change their personality types over different situations. Such changes reflect the nature of Enneagram of Personality. Therefore, the adoption of the Ennegram concept in designing characters can help improve the quality of filmmaking.References
จิระ มะลิกุล. (2564, 2 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
จีทีเอช. (2545). สื่อภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11. เข้าถึงได้จาก https://pantip.com/topic/39031584
โชติอนันท์ เกษมวงศ์หงส์ และฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2563). การวิเคราะห์ตัวละครและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมิติความเป็นจริงกับความฝันในภาพยนตร์แฟนตาซี. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 24(3), 249-263.
บัญญัติ บุญญา. (2558). Enneagram ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์คน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ปรวัน แพทยานนท์, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, สุรพล วิรุฬห์รักษ์ และวิรุณ ตั้งเจริญ. (2556). ตัวละครและสไตล์การแสดงในบริบทและวัฒนธรรมไทย: กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลแห่งชาติสุพรรณหงส์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(2), 78-86.
พาล์มเมอร์, เฮเลน. (2548). เอ็นเนียแกรม ศาสตร์เพื่อความเข้าใจตนเองและผู้อื่น (วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช, แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
ภัทริยา วิริยะศิริวัฒนะ. (2558). การวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง Les Miserables. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เวบบ์, คาร์เรน. (2562). Principles of the Enneagram: นพลักษณ์แผนที่เข้าถึงคนเข้าถึงตน. (สันติกโร, สุมนา พิศลยบุตร, ถวัลย์ เนียมทรัพย์ และจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, แปล) (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
เวเวก, อลิซาเบธ. (2560). The Enneagram of death ประสบการณ์ล้ำค่า เพื่อก้าวผ่านการพรากจากของคนเก้านพลักษณ์ (ร. จันเสน, แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมล คีมทอง.
สนิท สัตโยภาส. (2561). การใช้ทฤษฎีศาสตร์แห่งนพลักษณ์ศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้บุคคลมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(2), 113-129.
สมาคมนพลักษณ์ไทย. (2556, 9 ตุลาคม). ความเป็นผู้นำของคน 9 ลักษณ์. เข้าถึงได้จาก http://enneagramthailand.org/บทความ-showdetail-22655-45544-ความเป็นผู้นำของคน_9_ลักษณ์.html
สันติกโรภิกขุ. (2545). นพลักษณ์: คู่มือสังเกตตนเอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
สิตมณี เจียรบุตร, สิริกานต์ จุทะบาล, อาทิตยา หมาดหลี และจอมขวัญ สุทธินนท์. (2561). การวิเคราะห์การสร้างตัวละครตัวเอกที่มีพฤติกรรมแบบชายรักชายในภาพยนตร์เรื่อง Moonlight. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 1(1), 55-68.
สุภัค วงศ์ดี. (2559). การพัฒนาแบบสัมภาษณ์เบื้องต้น เพื่อประเมินศักยภาพความเป็นผู้นำโดยใช้แนวคิดนพลักษณ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). (2564). 15 ค่ำ เดือน 11 (Mekhong Full Moon Party). เข้าถึงได้จาก https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/998
อภิษฎา รัศมี. (2560, 15 สิงหาคม). นพลักษณ์ (Enneagram). เข้าถึงได้จาก http://person.ddc.moph.go.th/hrd/images/DATA/3.enneagram.pdf
เอ ทีม. (2562). 5 หนังที่เป็นดั่งมาสเตอร์ของมาสเตอร์หนังฟีลกู้ด ‘จิระ มะลิกุล.’ เข้าถึงได้จาก https://adaymagazine.com/jira-maligool-5-recommended-movies
Lapid-Bogda, G. (2007). What type of leader are you?: Using the Enneagram system to identify and grow your leadership strengths and achieve maximum success. New York: McGraw-Hill.
Palmer, H. (2005). Enneagram. CO: Sounds True.
Webb, K. A. (2012). Principles of the enneagram (3rd ed.). n.p.