รายงานกรมหลวงดำรงไปตรวจราชการมณฑลปราจีน ร.ศ. 119 : เอกสารประวัติศาสตร์เมืองชลบุรี และเมืองฉะเชิงเทราในสมัยรัชกาลที่ 5
The Inspection Report of Krom Luang Damrong on the Visit to Prachin District R.E.119: A Historical Document of Chonburi and Chachoengsao Districts in the Reign of King Rama V
Keywords:
รายงานตรวจราชการ, ร.ศ. 119 , เมืองชลบุรี , เมืองฉะเชิงเทรา, เอกสารประวัติศาสตร์, สมัยรัชกาลที่ 5Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพระนิพนธ์ของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เรื่อง รายงานกรมหลวงดำรงไปตรวจราชการมณฑลปราจีน ร.ศ. 119 ซึ่งเป็นเอกสารประวัติศาสตร์และหลักฐานชั้นต้นชิ้นสำคัญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเมืองชลบุรีและเมืองฉะเชิงเทรา ผลจากการศึกษาเอกสารทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานของเมืองชลบุรีและฉะเชิงเทรา ปัญหาของเมืองชลบุรีและฉะเชิงเทราพร้อมแนวทางการแก้ปัญหา สภาพเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของราษฎร การศาลและทัณฑกรรม ระบบการศึกษา การโยธา การพระศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นเอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสภาพการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม รวมทั้งข้อมูลสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคตะวันออก The objective of this article is to study the writing of Krom Luang Damrong Rajanuphab in The Inspection Report of Krom Luang Damrong on the Visit to Prachin District R.E.119. It is an important historical document and a primary source concerning Chonburi and Chachoengsao districts. The findings of this study revealed the information of the districts of Chonburi and Chachoengsao regarding the problems they had encountered and the proposed solutions, economy, occupations, judiciary and sentencing, education, public works, religions, ethnic groups and historical landmarks during the reign of King Rama V. The Inspection Report is an important document that provides a historical account about the political, economic, social and cultural conditions, as well as key information for studying local history in Eastern region of Thailand.References
ดำรงราชานุภาพ, กรมหลวง. (ร.ศ. 119). ร. 5 ม.2.14/39 รายงานกรมหลวงดำรงไปตรวจราชการมณฑลปราจีน. เอกสารไมโครฟิล์ม
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2545). เทศาภิบาล. กรุงเทพฯ: มติชน.
เตช บุนนาค. (2532). การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ.2435-2458 (ภรณี กาญจนัษฐิติ, แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2504). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เล่ม 2 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
ประกาศกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ อาคารพุทธสมาคม (ศาลเก่า) วัดบุปผาราม ศาลากลางจังหวัดตราด (หลังเก่า) ตึกมหาราช ตึกราชินี วัดชนะไชยศรี ปราสาทตาใบ ปราสาทพูลผล ปราสาทหนองผักบุ้งใหญ่ คุกขี้ไก่). (2539, 18 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 3, 7.
เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์. (2562). รายงานการตรวจราชการหัวเมืองของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพสะท้อนเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคสยามใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกอง (สกสว.).
ภารดี มหาขันธ์. (2555). การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคปรับปรุงประเทศตามสมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน. ชลบุรี: สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). อารยธรรมฝั่งทะเลตะวันออก. กรุงเทพฯ: มติชน.
สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2555). การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
อริยะโลกที่ 6. (2563). หลวงพ่อปาน อัคคปัญโญ วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ. เข้าถึงได้จาก https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_4799193