การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติของชุมชนอำเภอสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

The Development of Cultural and Natural Tourism in the Community of Sikhottabong District, Vientiane, Lao People’s Democratic Republic

Authors

  • จันทน์เพชร อินใจ
  • วุฒิชาติ สุนทรสมัย
  • ธินิกานต์ สังข์สุวรรณ

Keywords:

การพัฒนา, ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว, อำเภอสีโคดตะบอง, Development, Tourism Potential, Sikhottabong District

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว  2) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และ  4) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว จำแนกตามลักษณะทางสังคมของประชากร ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวลาวและคนในพื้นที่ จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ MANOVA ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นด้านองค์ประกอบของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และด้านความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ จำนวนครั้งในการท่องเที่ยวที่ต่างกันมีผลต่อระดับความคิดเห็นด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และอายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ และจำนวนครั้งในการท่องเที่ยวที่ต่างกันมีผลต่อระดับความคิดเห็นด้านความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำผลที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป  This research aimed at 1) examining opinions on tourism potential, 2) exploring opinions on expectations and needs for tourism management, 3) comparing opinions on tourism potential, and 4) comparing opinions on expectations and needs for tourism management based on the population’s social characteristics. An online questionnaire was used for data collection, with 400 samples including Lao tourists and residents. The test statistics of MANOVA was employed for data analysis. The results showed that the opinions on tourism potential and on expectation and needs for tourism management, both overall and by aspect, were at a high level. Also, the hypothesis testing indicated that occupation, education level, income, and frequency of travel were factors impacting opinions on tourism potential; whereas, age, status, occupation, educational level, income, and frequency of travel had an impact on expectations and needs for tourism management. Finally, the findings of this study would be applicable to the sustainable development of cultural and natural tourist attractions.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows (พิมพ์ครั้งที่ 14). โรงพิมพ์สามลดา.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 31). โรงพิมพ์สามลดา.

ฉัตรากรณ์ สุริวรรณ. (2562). แนวคิดการปกครองชีวญาณด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 15(1), 51-52.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฎฐกานต์ พฤกษ์สรนันทน์. (2561). เอกสารประกอบการสอนวิชา 66220159 ลักษณะและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐวุฒิ จงธนะวัฒน์. (2560). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. [งานนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

นุชประวีร์ ลิขิตศรัณย์ และคณะ. (2561). ระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว จังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 13(2), 25-36.

ประสิทธิ์ เวทประสิทธิ์, ศิริชัย เพชรรักษ์ และรังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 755-767.

ปรัชญา บุญเดช และแสงแข บุญศิริ. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 122-138.

ปรัชญากรณ์ ไชยคช, ดวงธิดา พัฒโน, ธนกฤช สุวรรณ, นุกูล ชิ้นฟัก และวรลักษณ์ สลิตศศิวิมล. (2558). ศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านตันหยงลูโละ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (หน้า 39-51). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. https://bit.ly/3c0u6Pz

มัสลิน วุฒิสินธุ์. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางเลือกแบบผสมผสานในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนตำบลท่าข้าม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 439-450.

รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา, สุจิตรา ริมดุสิต, ปานฤทัย เห่งพุ่ม, ชิดชม กันจุฬา และฉันทัช วรรณถนอม. (2565). การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อศักยภาพที่พักโฮมสเตย์หมู่บ้านคีรีวงกต จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 90-100.

เลิศพร ภาระสกุล. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วลัยพร ริ้วตระกูลไพบูลย์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย, ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ, ธิติมา พฤกษ์สรนันทน์, ชวนา อังคนุรักษ์พันธุ์, ธนาวุฒิ โรจนรุ่งทวี, เนตรดาว ชัยเขต, สุจิตรา ศรีสุข, เกศริน อิ่มเล็ก และอรพร สดใส. (2550). การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาตำบลเกาะช้างใต้ จังหวัดตราด. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศราวุฒิ ใจอดทน. (2561). แนวทางการพัฒนากายภาพแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ: กรณี ศึกษาป่าชุมชนเขาสามสิบส่างและเขาเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 27(2), 109-125.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 183-197.

อมรา ไชยมุนตรี และวิภาวี กฤษณะภูติ. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาวัดในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 35(3), 176-197.

อรรฆพร ก๊กค้างพลู และกนกกานต์ แก้วนุช. (2560). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานแหล่งท่องเที่ยวชุมชนขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(ฉบับพิเศษ), 139-157. https://dtc.ac.th/research/dtcjournal11special/

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Justice, M. (2019). Sustainable development: Meaning, history, principles, pillars, and implications for human action: Literature review. Cogent Social Sciences, 5(1), 1-21.

Ministry of Planning and Investment. (2016). 8th national socio-economic development plan (2016-2020). Vientiane capital, Lao People’s Democratic Republic. https://laopdr.un.org/en/13284-8th-national-socio-economic-development-plan-2016-2020

Planning and Investment Office of Sikhottabong District. (2020). Establishment of the 6th five-year economic, and social development plan (2014-2019) and the 7th five-year economic and social development plan (2020-2025) of Sikhottabong district, Vientiane capital, Lao People’s Democratic Republic. Planning and Investment Office of Sikhottabong district.

World Commission on Environment and Development. (1987). The Brundtland report our common future. Oxford University Press.

Yusuf, I. D. S., Rostitawati, T., & Obie, M. (2019). Cultural and natural resources as a tourism destination in Gorontalo Regency-Indonesia: Its potentials, problem, and development. International Journal of Tourism & Hospitality Reviews, 6(2), 1-7.

Downloads

Published

2022-11-23