การสำรวจปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย
An Exploration on Quality-of-Life Problems of Laborers in Thai Film Industry
Keywords:
แรงงาน, คุณภาพชีวิต , อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย, Laborers, Quality of Life, Thai Film IndustryAbstract
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่ององค์ประกอบคุณภาพชีวิต 4 ด้าน เป็นกรอบในการวิจัย ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มแรงงานกองถ่ายประเภททีมงานใต้เส้น จำนวน 9 คน และ กลุ่มผู้ผลักดันนโยบาย/ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ร่วมกับการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า แรงงานเผชิญกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ปัญหาคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย คือ ปัญหาการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาอุบัติเหตุในการทำงาน ปัญหาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คือ ปัญหาความไม่มั่นคงในอาชีพและปัญหาการเลือกปฎิบัติทางลำดับชั้น ปัญหาคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม คือ ปัญหาเรื่องการไม่มีตัวแทนในการต่อรอง และปัญหาคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผลการสำรวจจะเป็นข้อมูลในการสนับสนุนให้การออกแบบแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ มีเหตุผลประกอบการตัดสินใจและมีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ครอบคลุมในหลากหลายมิติ This study aims at exploring the problems affecting the life quality of laborers in Thai Film Industry. It applied the four domains of life quality: physical health, psychological health, social relationship, and environment as a conceptual framework. This qualitative research used an in-depth interview technique with 9 below-the-line workers and 5 policy advocates as well as documentary research for data collection. The results showed that Thai laborers have faced four domains of problems affecting their quality of life. These included physical health issues due to long-working hours and accidents in the workplace; psychological health issues which included job insecurity and hierarchy discrimination; the social relationship issue which involved lacking union representatives; and the environment issue which is caused by the COVID-19 pandemic. The data obtained from this study provided useful insight on different dimensions of the problems. They, in turn, contributed to the Government’s design approach to solve existing problems.References
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2557). เราทุกคนคือศิลปิน: อวัตถุศึกษาว่าด้วยแรงงาน. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 33(2), 130-155.
คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของประเทศไทยในระยะที่ 3 (ปี พ.ศ. 2560-2564). กระทรวงวัฒนธรรม.
ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, วรลักษณ์ กล้าสุคนธ์ และศักดิ์สิทธิ์ ทวีกุล. (2563). ความสอดคล้อง ของโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์ไทยกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(1), 43-79.
ณัฐนันท์ เทียมเมฆ. (2564). การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
นนทกานต์ จันทร์อ่อน. (2556). การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของประเทศไทย. สำนักงานเลขานุการวุฒิสภา.
นักศึกษาฝึกงานด้านภาพยนตร์. (2564, 26 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 49(2), 171-184.
มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย. (2552). สถานภาพความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และศักยภาพของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในการพัฒนาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
โย (นามสมมติ). (2564, 11 เมษายน). ผู้ควบคุมการประสานงาน. สัมภาษณ์.
แรงงานนักเรียนหนัง. (2564). นักเรียนหนังถาม ‘สหภาพคนทำหนัง’ เป็นไปได้ไหม? [Clubhouse].
ลี (นามสมมติ). (2564, 27 พฤษภาคม). ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม. สัมภาษณ์.
ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์. (2563). The ugly truth: ชั่วโมงการทำงาน ค่าแรง และความจริงที่เจ็บปวดของงานกองถ่าย. https://www.the101.world/the-ugly-truth-of-flimcrew
หอภาพยนตร์ (2564). งานเสวนาภาพยนตร์ “ราคาชีวิตของคนกอง.” https://youtu.be/ zSoP8zXFNe0
อสมาภรณ์ พิริยะโภคานนท์. (2562). คนกอง: เติบโตในกองถ่าย และตายในหน้าที่. https://nisitjournal.press/2019/12/18/lifebehindthescene/
อิสรา สงวนพงศ์. (2562). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม กรณีศึกษาผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2562). ความ (ไร้) อำนาจของคนดูและศิลปิน ธุรกิจการฉายภาพยนตร์และสังคมไทย พ.ศ. 2440-2561. ชนนิยม.
Banks, M., & Hesmondhalgh, D. (2009). Looking for work in creative industries policy. International Journal of Cultural Policy, 15(4), 415-430.
Caldwell, J. T. (2008). Production culture: Industrial reflexivity and critical practice in film and television. Duke University Press.
Mayer, V., Banks, M. J., & Caldwell, J. T. (2009). Production studies: Cultural studies of media industries. Routledge.