การพัฒนาทักษะการฟังการพูดภาษาจีนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนห้องเรียนกลับด้าน ผ่าน Zoom Meeting

The Development of Chinese Listening and Speaking Skills by Using Flipped Classroom through Zoom Meeting

Authors

  • ยุพดี หวลอารมณ์
  • อัจฉริยา ดามัน

Keywords:

ห้องเรียนกลับด้าน, ห้องเรียนออนไลน์, ภาษาจีน, ทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ Zoom meeting ด้วยสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบห้องเรียนกลับด้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์บทเรียนเรื่องการสมัครงานผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ Zoom Meeting 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการสอนในรูปแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดม ศึกษาของเอกชนในเขตภาคกลาง จำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า สื่อการสอนออนไลน์ช่วยส่งเสริมการฝึกปฏิบัติทักษะการฟังและการพูดภาษาจีน โดยค่าประสิทธิภาพของสื่อการสอนมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่ 84/93 และหลังจากผ่านการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านพบว่า มีผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมากกว่าร้อยละ 80 อยู่ในระดับดีมาก และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.81 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39  The purposes of this study were to 1) develop flipped classroom learning activities with effective electronic teaching materials according to (E1/E2) criteria; and 2) assess the learner’s satisfaction with classroom activities using the flipped classroom model. The data were collected from 1) the online lessons on job application through Zoom Meetings, and 2) an evaluation of student satisfaction on teaching using the flipped classroom. The sampling group for the study included 40 second-year students from a private university in the central region. The results of this study showed that online teaching materials can encourage Chinese listening and speaking practice. The efficiency values of the teaching media scores were effective according to the criterion of 84/93, which was in accordance with the hypothesis. In addition, it was found that over 80% of students passed the assessment criteria, which was rated as excellent. Finally, the students were satisfied with the flipped classroom learning activities at a very high level, of which the average was 4.81 (SD=0.39).

References

กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 118-126.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

เบญจพร สุคนธร และสมพงษ์ จิตระดับ. (2563). แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมี สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 13-23.

ปัญญา เลิศไกร และลัญจกร นิลกาญจน์. (2559). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8(2), 1-10.

ปรีชา สามัคคี และปัญญา เลิศไกร. (2557). การสังเกตเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(1), 58-66.

วัชรพงษ์ หวันสมาน และชลลดา เลาหวิริยานนท์. (2559). การเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทางในห้องเรียนออนไลน์โดยใช้กระบวนการเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8(1), 48-78.

รัตนาภรณ์ ทรงนภาวุฒิกุล. (2560). การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการใช้คะแนนรูบริค: Scoring rubrics. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 12(1), 1-14.

อิสรา โต๊ะยีโกบ, ปรีชา สามัคคี และกฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(1), 109-116.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom reach every student in every class every day. International Society for Technology in Education.

Caixia, W., & Guangran L, (2013). 翻转课堂优化中职课堂教学探析 [Analysis of flipped classroom to optimize secondary vocational classroom teaching]. 职教论坛 [Vocational & Technical Education Forum], 19(6), 41-44.

Yang, J., Yin, C. X., & Wang, W. (2018). Flipping the classroom in teaching Chinese as a foreign language. Language Learning & Technology, 22(1), 16-26.

Zeng, Z. (2012). 反转教学的特征、实践及问题 [Features of flipped teaching]. China Educational Technology, 32(7), 114-117.

Downloads

Published

2022-11-23