องค์ประกอบในการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยกับความพึงพอใจของผู้ชม: กรณีศึกษาละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส

The Creative Attributes of Thai Television Drama and Audience Satisfaction: A Case Study of Love Destiny Television Drama

Authors

  • พิเชษฐ์ แตงอ่อน
  • ดวงกมล ชาติประเสริฐ
  • จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

Keywords:

องค์ประกอบการสร้างสรรค์, ละครโทรทัศน์, ความพึงพอใจของผู้ชม, บุพเพสันนิวาส, Creative Attributes, Television Drama, Audience Satisfaction, Love Destiny

Abstract

ละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส ได้จุดกระแสความเป็นไทยที่เข้มข้นขึ้นในสังคมเป็นวงกว้าง กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบของผู้ชมที่พัฒนาจนกลายเป็น “ปรากฏการณ์ออเจ้า” อันเป็นผลมาจากความพึงพอใจในการชมละครอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยสามารถใช้ละครเรื่องนี้เป็นต้นแบบในการผลิตผลงานที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ชมในวงกว้างได้ในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยกับความพึงพอใจของผู้ชม กรณีศึกษาละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส ผ่านการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ชม โดยองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ บทละครโทรทัศน์ นักแสดงและการแสดง เครื่องแต่งกาย งานฉากและสถานที่ถ่ายทำ เทคนิคทางภาพ และการประชาสัมพันธ์ สามารถอธิบายความพึงพอใจได้ทางสถิติ  The television drama Love Destiny has widely created the intense Thainess trend in society, encouraging various audience behaviors called ‘Aor Jao Phenomenon.’ This unprecedented phenomenon is the effect of audience satisfaction that this drama gave. Thai television drama makers could use this drama as a model for producing television shows that attract a mass audience. Therefore, this research aims at studying the correlation between each creative component of Thai television drama and audience satisfaction, using Love Destiny as a case study. This survey research used an online questionnaire as a main method of data collection. The results showed that all creative components correlated with audience satisfaction. The six components, consisting of screenplay, casts and acting, costume design, production design, special effects, and public relations, were statistically linked to the audience satisfaction.

References

กฤติญา รุ่งกาญจนาพร. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนในการรับชมละครโทรทัศน์ ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. https://doi.org/10.14457/ RU.the.2007.163

ข่าวไทยพีบีเอส. (2561, 4 เมษายน). “บุพเพสันนิวาส” สร้างโอกาสในแสงริบหรี่วงการหนังสือไทย. ไทยพีบีเอส ออนไลน์. https://news.thaipbs.or.th/content/ 271433

คันธิยา วงศ์จันทา. (2541). การพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

เณริศา ชัยศุภมงคงลาภ. (2563). ความสำเร็จของละครโทรทัศน์กับการสร้างปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมกึ่งความจริง กรณีศึกษาละครโทรทัศน์บุพเพสันนิวาส. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 14(1), 158-198.

ทิพาภัสสร์ คล้ายจันทร์ และธีรเดช ชื่นประภานุสรณ์. (2560). ความพึงพอใจของผู้ชมและแนวโน้มของละครโทรทัศน์หลังข่าวของช่อง 7 สี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(2), 281-292.

ไทยรัฐออนไลน์. (2561, 4 เมษายน). “บุพเพสันนิวาส” พิมพ์ 1 แสนเล่มแล้วนะออเจ้า. https://www.thairath. co.th/business/market/1247831

เฟื่องฟ้า โพธิ์เจริญ. (2551). ความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อละครโทรทัศน์ทางสถานีไทยทีวีสีช่อง 3 ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. https://doi.org/10.14457/ RU.the.2008.125

ภัทรภร เสนไกรกุล และจิรยุทธ์ สินธุพันธ์. (2562). บุพเพสันนิวาส: ความรู้สึกร่วมกับ การตามรอยของผู้ชมละครไทย. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หน้า 463-471). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. https://doi.org/10.14457/KU.res.2019.183

ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง และดวงกมล ชาติประเสริฐ. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ชมละครโทรทัศน์ “บุพเพสันนิวาส.” วารสารสถาบัน วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 4(2), 123-141.

สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์. (2554). พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ และปรีดา อัครจันทโชติ. (2563). การประกอบสร้างและการสื่อความหมายของความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 19(2), 8-29.

สินีนาฏ สีสรรค์. (2552). พฤติกรรมการเปิดรับชมด้วยความพึงพอใจของผู้ชมในกรุงเทพมหานครที่มีต่อละครโทรทัศน์หลังข่าว. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. https://doi.org/10.14457/RU.the.2009.174

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2550). การสร้างเกณฑ์มาตรฐานการผลิตละครโทรทัศน์ไทย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Dennis, D. M., & Gray, D. M. (2013). An episode-by-episode examination: What drives television-viewer behavior - digging down into audience satisfaction with television dramas. Journal of Advertising Research, 53(2), 166-174. https://doi.org/10.2501/JAR-53-2-166-174

Gray, D., & Dennis, D. (2010). Audience satisfaction with television drama: A conceptual model. In P. Ballantine, & J. Finsterwalder (Eds.), Proceeding of the ANZMAC 2010: Doing More with Less. University of Canterbury. http://anzmac2010.org/proceedings/pdf/anzmac10Final00397.pdf

Lu, X., & Lo, H-P. (2007). Television audience satisfaction: Antecedents and consequences. Journal of Advertising Research, 47(3), 354-363. https://doi.org/10.2501/s0021849907070365

Millerson, G., & Owens, J. (2009). Television production (14th ed.). Focal Press.

Patwardhan, P., Yang, J., & Patwardhan, H. (2011). Understanding media satisfaction: Development and validation of an affect-based scale. Atlantic Journal of Communication, 19(3), 169-188. https://doi.org/10. 1080/15456870.2011.584508

TV Digital Watch. (2561, 12 เมษายน). บทสรุป “บุพเพสันนิวาส”. https://www.tvdigitalwatch.com/ analysis-buppesanniwas-12-05-61/

Zettl, H. (2006). Television production handbook (9th ed.). Thomson Wadsworth

Downloads

Published

2022-11-24