นัยแห่งการจัดแบ่งประเภทของเมืองเก่ากับการจัดการ: กรณีเปรียบเทียบการจัดแบ่งขององค์การยูเนสโกและประเทศไทย
Implications of Classification of Old Towns and Management: A Comparison between UNESCO’s and Thailand’s Categorizations
Keywords:
ประเภทของเมืองเก่า, การจัดการ, ยูเนสโก, เมืองเก่าประเทศไทย, Types of Old Towns, Management, UNESCO, Old Towns in ThailandAbstract
บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นศึกษาการจัดแบ่งประเภทของเมืองเก่าเพื่อศึกษาภาพสะท้อนการจัดการจากการจัดแบ่งประเภทของเมืองเก่าผ่านกรณีเปรียบเทียบการจัดแบ่งประเภทเมืองเก่าขององค์การยูเนสโกและการจัดแบ่งประเภทของเมืองเก่าในการดำเนินงานเมืองเก่าของประเทศไทย จากการวิเคราะห์เอกสารพบว่า การจัดแบ่งประเภทเมืองเก่าสามารถสะท้อนให้เห็นถึงมิติด้านการจัดการได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ การจัดแบ่งประเภทเมืองเก่าขององค์การยูเนสโกมีการให้ความสำคัญต่อทั้งเมืองเก่าที่ตายแล้ว เมืองเก่าที่ยังมีชีวิต และเมืองในบริบทสมัยใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นการจัดการที่ให้ความสำคัญต่อการอยู่อาศัยของผู้คน ความเป็นพลวัตของเมือง และความจริงแท้ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ขณะที่การจัดแบ่งประเภทเมืองเก่าของประเทศไทยให้ความสำคัญต่อเมืองเก่าที่ตายแล้วและเมืองเก่าที่มีชีวิตเท่านั้น แต่ขาดหายประเด็นเกี่ยวกับเมืองในบริบทสมัยใหม่ ภาพสะท้อนการจัดแบ่งประเภทแสดงให้เห็นถึงการจัดการที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านการอยู่อาศัยของผู้คนเช่นเดียวกัน มีการให้ความสำคัญในด้านจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมา และมีการให้ความสำคัญต่อโครงสร้างเมืองและการเป็นศูนย์กลางของความสำคัญของเมือง นอกจากนี้ยังพบว่าการจัดการเมืองเก่าของไทยให้ความสำคัญต่อมิติทางกายภาพของเมืองและมิติทางประวัติศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ This paper mainly studies the classification of old towns. It compares UNESCO’s old town classification and the classification used in Thailand’s old town operations. According to the documentary analysis, the study found that the old town classification clearly reflected management dimensions. That is, UNESCO’s classification of old towns pays attention to dead old towns, living old towns, as well as cities in the modern context. This reflects the management that values people’s dwelling, the dynamics of the city and its authenticity, which are associated with outstanding universal values. However, Thailand’s old town classification only focuses on dead old towns and living old towns, while neglecting the issues in the modern context. Thailand’s classification similarly pays attention to people’s housing issues. There has been an increased emphasis on population, urban structure, and the centrality of urban importance. Finally, the study found that Thailand’s management of old towns puts a significant emphasis on the physical and historical dimensions of the city.References
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. (2562). โบราณคดีเมือง โบราณคดีกรุงเทพมหานคร. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนสินทร์และเมืองเก่า. (2548). ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พ.ศ. 2548 - 2552. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ชูวิทย์ สุจฉายา. (2552). การอนุรักษ์เมือง. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ปรานอม ตันสุขานันท์. (2559). การอนุรักษ์ชุมชนเมือง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504. (2504, 29 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 980-998.
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. (2535, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 12-26.
ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2556). การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ. 2546. (2546, 26 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 8-13.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ. 2564. (2564, 20 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1-5.
วรรณศิลป์ พีรพันธุ์. (2553). กฎบัตรและมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เมือง. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 7(1), 1-10.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554ก). ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองเก่า เล่มที่ 1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองเก่าในประเทศไทย. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554ข). ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองเก่า เล่มที่ 2 แนวคิดและหลักเกณฑ์โดยทั่วไปเกี่ยวกับการอนุรักษ์ พัฒนา และฟื้นฟูเมืองเก่า. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2561). คู่มือการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งมรดกทางธรรมชาติเป็นแหล่งมรดกโลก. อี.ที.พับลิชชิ่ง.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2562). การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าในประเทศไทยกับแนวคิดภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์. อี.ที.พับลิชชิ่ง.
Fielden, B., & Jokilehto, J. (1993). Management guidelines for word cultural heritage sites. ICCROM.
ICOMOS. (1975a). Resolutions of the international symposium on the conservation of smaller historic towns. ICOMOS.
ICOMOS. (1975b). The resolution of Bruges: Principles governing the rehabilitation of historic towns. ICOMOS.
ICOMOS. (1987). Charter for the conservation of historic towns and urban areas (Washington charter 1987). ICOMOS.
ICOMOS & UNESCO. (1976). ICOMOS - UNESCO - Recommendation adopted at the international symposium - “A New Life for Historic Towns”. ICOMOS.
Intergovernmental Committee for the Protection of the World Cultural and Natural Heritage. (2008). Operational guidelines for the implementation of the world heritage convention. UNESCO.
UNESCO. (1972). Convention concerning the protection of the world cultural and natural heritage. UNESCO.
UNESCO. (1976). Recommendation concerning the safeguarding and contemporary role of historic areas. UNESCO.
UNESCO. (2011). Recommendation on the historic urban landscape. UNESCO.