แนวทางส่งเสริมและการกำกับดูแลร่วมกันด้านการปฏิบัติงานและการนำเสนอของสื่อในประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ

Guidelines for the Promotion and Co-regulation of Media Operation and Presentation on Sensitive Issues related to Gender Diversity

Authors

  • สันทัด ทองรินทร์
  • ศิริวรรณ อนันต์โท
  • สุภาภรณ์ ศรีดี
  • วิทยาธร ท่อแก้ว
  • สาธิตา วิมลคุณารักษ์
  • วิวิธ วงศ์ทิพย์
  • ธีรเดช มโนลีหกุล
  • วิศนันท์ อุปรมัย
  • ทิพย์นภา หวนสุริยา
  • พีรพงศ์ จงไพศาลสกุล

Keywords:

แนวทางส่งเสริมการกำกับดูแล, การนำเสนอของสื่อ, ความหลากหลายทางเพศ, Guidelines for the Promotion and Co-regulation, Media Operation and Presentation, LGBTIQ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมและกำกับดูแลร่วมกันด้านการปฏิบัติงานและการนำเสนอของสื่อในประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของประเทศไทย แกนนำผู้มีความหลากหลายทางเพศ นักกฎหมาย นักสื่อสารมวลชน ผู้ผลิตรายการ นักวิชาการด้านจิตวิทยา ตัวแทนผู้ชม จำนวน 15 คน การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยวิธีการเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า การนำเสนอภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBTIQ+ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางเพศเป็นพื้นฐานก่อนการนำเสนอ มีการนำเสนอในลักษณะที่เป็น “ปกติ” ตามบริบททางสังคม ปราศจากอคติ เน้นความสามารถและศักยภาพ การเป็น “ตัวแบบที่ดี” เพื่อให้เกิดการรับรู้ของความสำเร็จมากกว่าการตอกย้ำ สร้างภาพจำ ควรใช้ภาษาที่สร้างความเข้าอกเข้าใจ ควรเสนอภาพและเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าการคำนึงถึงการหวังผลในเชิงพาณิชย์ สำหรับแนวทางการกำกับดูแลเนื้อหารายการเกี่ยวกับ LGBTIQ+ ควรใช้หลักการกำกับดูแลรายการเช่นเดียวกับรายการโดยทั่วไป รวมถึงหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค ไม่ละเมิดศักดิ์ศรี ควรใช้แนวคิดของการ “ส่งเสริม” มากกว่าการ “กดทับ” โดยใช้วิธีการกำกับดูแลกันเอง หรือการกำกับดูแลร่วมกัน และควรจัดทำ “คู่มือ” การกำกับดูแลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  The purpose of this study was to explore the support guidelines for regulating media operations and reporting on sensitive LGBTIQ+ issues in Thailand. This research was qualitatively conducted using in-depth and focus-group interviews. Forty-five research participants included television industries experts, LGBTIQ+ key informants, lawyers, journalists, television program producers, psychologists, and LGBTIQ+-content audience representatives. Fifteen participants for in-depth interviews were recruited through a purposive sampling method, and thirty participants for focus-group interviews were recruited using a snowball sampling method. The research tools were semi-structured interview and focus-group interview questions. The data were analyzed inductively. The study revealed two main findings. First, in reporting LGBTIQ+ content, knowledge and understanding of gender should be earlier addressed, and LGBTIQ+ issues should be presented normally and appropriately for social contexts through appropriate, bias-free style so that audiences perceive LGBTIQ+ content positively as role models with capacity, rather than LGBTIQ+ with negative image. Also, content and language used for LGBTIQ+ should create empathy. Media entrepreneurs should consider their roles and ethics, reporting the content creatively rather than taking advantage of LGBTIQ+ content. Second, the regulatory guidelines for LGBTIQ+ content should apply the same rules used in general content, where human rights, equality, respect, support, not suppression, should be recognized. Media with self-regulation and regulatory guidelines should be provided for the same standard of practices.

References

กังวาฬ ฟองแก้ว, อโนพร เครือแตง, สุมน อ่นสาธิต, เมธาวี คัมภีรทัศน์, นิศารัตน์ จงวิศาล, อรอนงค์ อรุณเอก, และ Byrne, J. (2560). สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง: การทำงานร่วมกันกับสื่อในประเด็นเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ สถานะ การแสดงออกและลักษณะทางเพศในประเทศไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. https://www.undp.org/sites/g/files/zskgke326/files/migration/th/UNDP_Thailand_TH-tool-for-change-thai.pdf

กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์, พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ, และสุพัตรา สันติรุ่งโรจน์. (2562). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3758-3772.

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. เอดิสันเพรสโปรดักส์.

จเร สิงหโกวินท์. (2013). สื่อตีตรา: การผลิตซ้ำมายาคติเกย์ในสังคมไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 18(20), 64-76.

ชีรา ทองกระจาย. (2561). ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ. ใน เอกสารการสอนประจำชุดวิชา 82427 (หน่วยที่ 5) การพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก (หน้า 1-45). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). แนวคิดทฤษฎีเรื่อง “ความหลากหลายทางเพศ”. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. https://www.sac.or.th/databases/sac_research/article-detail.php?articleID=56

ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง แนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์. (2556, 29 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 147 ง. หน้า 1-3. https://broadcast.nbtc.go.th

พนา ทองมีอาคม. (2561). แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายและการกำกับดูแลกิจการสื่อสาร. ใน ประมวลสาระชุดวิชา 16720 (หน่วยที่ 1) นโยบายการสื่อสารและการกำกับดูแล (หน้า 1-66). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย. (ม.ป.ป.). รายงานด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี พ.ศ. 2563 - ประเทศไทย. https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/official-reports-th/2020-human-rights-reports-thailand-th/

Capuzza, J. C., & Spencer, L. G. (2017). Regressing, progressing, or transgressing on the small screen? Transgender characters on U.S. scripted television series. Communication Quarterly, 65(2), 214-230. https://doi.org/10.1080/01463373.2016.1221438

Lovelock, M. W. (2016). Interrogating the politics of LGBT celebrity in British reality television [Doctoral thesis, University of East Anglia]. https://ueaeprints.uea.ac.uk/id/eprint/63063/

Leuven, K. U. (2009). Independent study on indicators for media pluralism in the member states towards a risk-based approach: Prepared for the European commission directorate-general information society and media SMART 007A 2007-0002. https://ec.europa.eu/information_society/media_taskforce/doc/pluralism/pfr_report.pdf

McCombs, M. E., & Shaw, D. L. (1972). The agenda-setting function of mass media. Public Opinion Quarterly, 36(2), 176-187.

Pew Research Center. (2015). U.S. public becoming less religious. [Report]. https://www. -pewresearch.org/religion/2015/11/03/u-s-public-becoming-less-religious/

The standard. (2563). SOGIESC หลักการเข้าใจเพศกำเนิด เพศสภาพ และเพศที่อยากให้คนอื่นรับรู้. https://thestandard.co/podcast/ruok195/

Tu, J.-W., & Lee, T.-T. (2014). The effects of media usage and interpersonal contacts on the stereotyping of lesbians and gay men in China. Journal of Homosexuality, 61(7), 980-1002.

Xie, Y., & Peng, M. (2018). Attitudes toward homosexuality in China: Exploring the effects of religion, modernizing factors, and traditional culture. Journal of Homosexuality, 65(13), 1758-1787.

Downloads

Published

2024-01-10