บทบาทของประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสที่มีต่อชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

Function of the Feast of Our Lady of Ransom in the Immaculate Conception Church Community, Dusit, Bangkok

Authors

  • อติวิชญ์ เซี่ยงคิ้ว

Keywords:

บทบาทของพิธีกรรม, แม่พระไถ่ทาส, ชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ, คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก, The Ritual’s Function, Our Lady of Ransom, Immaculate Conception Church Community, Catholicism

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสที่มีต่อชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเอกสารร่วมกับกระบวนการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสมีบทบาทต่อชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทในการแสดงออกถึงความศรัทธาที่มีต่อพระนางมารีย์พรหมจารี 2) บทบาทในการสร้างความมั่นคงและเป็นที่พึ่งทางจิตใจ 3) บทบาทในการแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนคอนเซ็ปชัญ ได้แก่ อัตลักษณ์ทางศาสนา และอัตลักษณ์ด้านอาหาร และ 4) บทบาทการสร้างปฏิสัมพันธ์และความสามัคคีของชุมชน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสเป็นประเพณีสำคัญที่ยึดโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ของชุมชนให้เป็นปึกแผ่น ทำให้ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ได้อย่างเข้มแข็ง  This is qualitative research. The purpose of this research was to analyze the function of Our Lady of Ransom celebration for the Immaculate Conception Church community in Dusit, Bangkok. The data was collected through document research, stakeholder interviews, and participant and non-participant observations. The study found that the Feast of Our Lady of Ransom serves four functions for the Immaculate Conception Church community as following: 1) demonstrating faith in the Virgin Mary 2) creating stability and serving as a psychological refuge 3) displaying the community’s identity, including religious and food cultural identity 4) promoting community interaction and unity. This research highlights the Feast of Our Lady of Ransom as a significant tradition that connects various community components and maintains a strong identity.

References

กานต์พิชชา อุดมมงคลกิจ และภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ (2564). ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ: บทบาทต่อชุมชนมอญลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 10(1), 107-129.

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม. (2557). พระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์.

จตุพร เพชรบูรณ์. (2559). ความเชื่อและบทบาทของประเพณีทานธัมม์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

จัมปีเอโร, จี. (2556). ระลึกถึงวาติกันที่ 2: รุ่งอรุณแห่งการรอคอย (ทัศไนย์ คมกฤส, แปล). คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2556). อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลง. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://wsc.soc.cmu.ac.th/womancenter/publication.php?lang=th

ติ๋ม (นามสมมติ). (2565, 24 กันยายน). สัมภาษณ์.

ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2562). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1. ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

นภัสวรรณ (นามสมมติ). (2565, 24 กันยายน). สัมภาษณ์.

ประชาชาติ ปรีชาวุฒิ. (2564). คำสอนคริสตชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ม.ป.ท.

ประเสริฐ รุนรา. (2565). หลักเมือง หลักคน หลักใคร: สัญลักษณ์เทพกับการต่อรองอัตลักษณ์ทางความเชื่อระหว่างรัฐกับท้องถิ่น. สามลดา.

ปราณี กล่ำส้ม. (2552). ย่านเก่าในกรุงเทพฯ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). เมืองโบราณ.

เปรมมนัส (นามสมมติ). (2565, 24 กันยายน). สัมภาษณ์.

เปรมศักดิ์ (นามสมมติ). (2565, 24 กันยายน). สัมภาษณ์.

ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์. (2565). พิธีกรรม “กินดอง”: บทบาทต่อชาวบ้านในชุมชนอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 39(2), 74 – 96.

รัตนพล ชื่นค้า, ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ และสุกัญญา สุจฉายา. (2564). ความหมายและบทบาทของพิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ในชุมชนบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(2), 121 – 142.

ราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

วัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า. (2517). หนังสืออนุสรณ์วัด เสด็จพระราชดำเนินงานฉลอง 300 ปี. คณะกรรมการวัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า.

วัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า. (2565ก). พิธีบูชาขอบพระคุณฉลองแม่พระไถ่ทาส. วัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า.

วัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า. (2565ข). บทเพลงในพิธีบูชาขอบพระคุณ ฉลองแม่พระไถ่ทาส 24 กันยายน 2022. คณะกรรมการวัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า.

วิกเตอร์ ลาร์เก. (2539). ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย. แม่พระยุคใหม่.

วิจิตต์ แสงหาญ. (2565, 24 กันยายน). สัมภาษณ์.

วิชญ์พล บัญชาวชิระชัย. (2556). การนำเสนอชุมชนผ่านเรื่องเล่า: กรณีศึกษาชุมชนคอนเซ็ปชัญ. [งานนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

วุฒิชาติ (นามสมมติ). (2565, 24 กันยายน). สัมภาษณ์.

แวนรอย, เอ. (2565). ก่อร่างเป็นบางกอก (ยุกติ มุกดาวิจิตร, แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 2). มติชน.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537). ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น: การศึกษาคติชนในบริบททางสังคมไทย. มติชน.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมาส (นามสมมติ). (2565, 24 กันยายน). สัมภาษณ์.

ศูนย์คริสตศาสนธรรม. (2550) ประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก. ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ.

สมศรี บุญอรุณรักษา. (2563). มิสซังสยาม นาวาที่ผ่านมรสุม. สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย.

สารภี ขาวดี. (2555). บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรม “การโจลมะม็วด” ต่อชุมชนเขมร จ.สุรินทร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(1), 153 – 196.

สุกัณทา อินหวัน, สนิท สัตโยภาส และรังสรรค์ จันต๊ะ. (2559). การศึกษาโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่อเจ้าหลวงคำแดง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1), 73 – 86.

อภิวัฒน์ สุธรรมดี. (2559). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมบูชาเจ้าแม่งูจงอาง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 10(2), 1-20.

อภิวัฒน์ สุธรรมดี, ชนนิกานต์ ยศปัญญา, สุพรรณธิกา ประดิษฐ์สอน และมนัสวี หิมพานต์. (2565). งานนมัสการหลวงพ่อเพชรและสมโภชเมืองพิจิตร: องค์ประกอบและบทบาทของพิธีกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 16(1), 125 – 149.

อินทิรา พงษ์นาค. (2557). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

เอื้อมพร ทิพย์เดช, เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์ และสุริยะกาล ทองเหลา. (2566). พิธีส่อนขวัญ: พิธีกรรมแห่งความเชื่อของชาวชุมชนหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. มังรายสาร, 11(1), 129 – 146.

Kerala Catholic Bishops’ Council. (n.d.). Our Lady of Ransom Basilica, Vallarpadam. https://kcbc.co.in/KCBC/Pilgrims/2

Marian Library. (n.d.). Our Lady of Ransom. https://udayton.edu/imri/mary/o/our-lady-of-ransom.php

Our Lady of Ransom Catholic Church. (n.d.). Who is Our Lady of Ransom?. https://olransom.org/who-is-our-lady-of-ransom

Downloads

Published

2024-01-10