การพัฒนารายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวันในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

The Development of Basic Script Writing and Writing for Everyday Life Communication Course for Manpower in Eastern Economic Corridor through MOOCs

Authors

  • อภิรักษ์ ชัยปัญหา

Keywords:

ระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด, การเขียนบทละคร, การเขียนสื่อความคิด, การสอนออนไลน์, MOOCs, Script Writing, Expressive Writing, Online Teaching

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการ ความจำเป็นและจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกในด้านทักษะการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการทักษะการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 2) เพื่อการพัฒนารายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวันในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผลการศึกษา พบว่า สามารถพัฒนารายวิชาได้จำนวน 1 รายวิชา คือ รายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวัน โดยแบ่งผลการศึกษาได้เป็น 2 ส่วน คือ (1) การออกแบบรายวิชา ผู้วิจัยได้นำผลจากแบบสอบถามมาประกอบกับหลักการจัดการเรียนการสอนเพื่อกำหนดเป็นเนื้อหาวิชา (2) การผลิตและการเผยแพร่ ผลการศึกษา พบว่า สามารถผลิตสื่อวีดิทัศน์การเรียนการสอนสำหรับเนื้อหา 4 บทเรียน จำนวน 12 คลิป ความยาวรวม 120 นาที พร้อมผลิตเอกสารประกอบการเรียน แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ โดยเผยแพร่รายวิชาในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิดของมหาวิทยาลัยบูรพา (BUU MOOC) ซึ่งเปิดทดสอบให้ผู้เรียน จำนวน 300 คน ผลประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29  This is a research study on Research and Development (R&D). The main objectives of this research are: 1) to identify the needs and priority for potential manpower development in script writing and expressive writing. The findings show that the overall need in this area is quite high, with a score of 4.30 (average = 4.30). 2) In the context of enhancing fundamental Script Writing and Expressive Writing for Daily Life, especially for manpower in the Eastern Economic Corridor region, this study suggests the possibility of developing a foundational course focusing on script writing and expressive writing for daily life through Massive Open Online Courses (MOOCs). The study’s findings can be categorized into two main aspects. (1) Course Design: researchers used survey results along with instructional design principles to create course content. (2) Production and Dissemination: the study produced instructional videos for four lessons, comprising of 12 videos, totaling to 120 minutes. Supplementary learning materials, practice exercises, and quizzes were also developed during the study. The course was disseminated through the Burapha University Massive Open Online Course (BUU MOOC) and was pilot-tested with 300 learners. The assessment of learner satisfaction revealed that learners were highly satisfied and gave an average rating of 4.29.

References

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2547). เสกฝัน ปั้นหนัง: บทภาพยนตร์. ห้องภาพสุวรรณ 2004.

สุขมิตร กอมณี. (2565). การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 117-145.

สุภาณี ทัพขวา. (2561). การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนและพฤติกรรมการเรียนใน Thai MOOC. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

สุมาลี สังข์ศรี. (2549). การศึกษาทางไกล. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). เอกสารวิชาการ ความต้องการแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2561 - 2570). http://eng.rmutsv.ac.th/file/AC/2562_5.pdf

อภิรักษ์ ชัยปัญหา. (2566). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนารายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวันในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bloom, B. S. (Ed.). Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives. David McKay.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techiques. John Wiley & Sons.

Downes, S. (2008). Places to go: Connectivism and connective knowledge. Innovate: Journal of Online Education, 5(1), 1-6. https://nsuworks.nova.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1037&context=innovate

Downloads

Published

2024-01-10