การพัฒนาและใช้โปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพาในการประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่น: กรณีศึกษาบ้านสำราญ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด

The Development and Use Application on Smartphone and Portable Devices for Assessing the State of Local Foods: A Case Study of Baan Samran, Nong Khaen Sub-district, Pathum Rat District, Roi Et Province

Authors

  • อาทิตย์ บุดดาดวง
  • ฐิติรัตน์ เวทย์ศิริยานันท์
  • เขมวิทย์ จิตตะยโศธร
  • อุมาพร ไวยารัตน์
  • สว่าง สุขแสง
  • บัวพันธ์ พรหมพักพิง
  • อนุวัฒน์ พลทิพย์

Keywords:

โปรแกรมประยุกต์, การประเมินสภาวะอาหาร, ความมั่นคงทางอาหาร, Application Programs, Food Condition Assessment, Food Security

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดมความร่วมมือในการศึกษาสถานการณ์อาหาร และ 2) ออกแบบโปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพา การรวบรวมข้อมูลและประเมินสภาวะความมั่นคงทางอาหารของบ้านสำราญ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรม และดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า สามารถออกแบบและพัฒนาให้เกิดโปรแกรมประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่นชื่อว่า “SAMRANDEE” มีการก่อตั้งศูนย์ข้อมูลชื่อว่า “ตุ้มโฮมสำราญดี” เพื่อบริหารจัดการและใช้พัฒนากระบวนการผลิตในพื้นที่และพัฒนาให้เป็นประโยชน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในพื้นที่ ให้เกิดการสั่งซื้อและจัดส่งอาหารรวมทั้งเป็นการสร้างงานให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนในอนาคต ข้อค้นพบที่สำคัญคือ นักวิจัยชุมชนเกิดการเรียนรู้ข้อมูลอาหารในพื้นที่ ทักษะการวิจัย ออกแบบโปรแกรมจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เกิดการอนุรักษ์อาหารประจำถิ่นที่หายาก มีความตระหนักเรื่องหนี้สินครัวเรือนในโปรแกรมเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ข้อเสนอแนะคือ ควรสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายการผลิตและการตลาดให้มากขึ้น ควรออกแบบระบบการจัดเก็บผลผลิต การซื้อขาย การสั่งซื้อ การจัดส่ง โดยเชื่อมโยงกับโปรแกรม และหน่วยงานในท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตรอำเภอ ฯลฯ  This research has two objectives. Firstly, to encourage community participation in studying the food situation, and secondly, to design mobile applications for data collection and evaluation of the food security status in Baan Samran. A qualitative case study research and participatory action research were employed to design and develop an application to survey and evaluate the food situation in the area. The data was collected from 35 households as samples. The results of the research can be utilized to create a local food assessment program called “SAMRANDEE”. An information center called “Tum Home Samran Dee” can be established to manage production processes in the area. This will benefit buyers and sellers by enabling food orders and deliveries and creating employment opportunities for the community in the future. Community researchers gained important knowledge about food information in the area, research skills, program design based on community needs, and preserving rare local food. Managing household debt is crucial for village development. Adding debt information to the program can improve food security and quality of life. More cooperation with production and marketing networks is recommended. A system for storing produced food, trading, ordering, and delivering should be designed. Local agencies such as local government organizations, and district agricultural offices can use this information to benefit the community.

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. บพิธการพิมพ์.

ฐิติรัตน์ เวทย์ศิริยานันท์ และคณะ. (2563). การพัฒนาและใช้โปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพาในการประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่น กรณีศึกษาบ้านสำราญ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. [รายงานการวิจัย]. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). การส่งเสริมให้เกษตรกรไทยใช้แอปพลิเคชันควรเริ่มที่ไหน. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/statistical-articles/Stat_Article_30nov21.html

ประสิทธิชัย พูลผล, อภิมุข ปิตรัมย์, อัจฉราพรรณ พรมตา, ธีราพร สุภาพันธุ์ และอุไรวรรณ อกนิตย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือระบบแอนดรอยด์สำหรับการประเมินความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่. วารสารเภสัชกรรมไทย, 14(1), 210-218.

วัชรี เพ็ชรวงษ์, จันทรวัทน์ อัครเมธานนท์ และไกรสร สว่างศรี. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักปลอดภัยตามแนวคิดเกมมิฟิเคชัน. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. (2555). แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร. http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/36/24.pdf

สรธรรม เกตตะพันธุ์, ดุสิต อธินุวัฒน์ และชนัญ ผลประไพ. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชัน ORGANIC LEDGER สําหรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส). Thai Journal of Science and Technology, 7(4), 355-370.

สว่าง สุขแสง. (2562, 9 พฤษภาคม). ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์.

สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. [วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์].

อลิสา สุขแก้ว. (2561). Mobile application คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร. https://www.mindphp.com/forums/viewtopic.php?f=198&t=45583

Amartya, S. (2020). The international conference on equitable education: All for education. https://afe.eef.or.th/amartya-sen-equality-freedom-and-education/

Food and Agriculture Organization of the United Nations. (2002). Anti Hunger Programme: Reducing hunger through agriculture and rural development and wider access to food. [Report]. https://reliefweb.int/report/world/fao-unveils-global-anti-hunger-programme

Jean, D., & Amartya, S. (1989). Hunger and public action. Clarendon Press.

Downloads

Published

2024-01-10