การตั้งชื่อจังหวัดในภาษามือไทย
Naming Provinces in Thai Sign Language
Keywords:
การตั้งชื่อในภาษามือไทย, จังหวัดในภาษามือไทย, ภาษามือไทย, Naming in Thai Sign Language, Provinces in Thai Sign Language, Thai Sign LanguageAbstract
บทความนี้ศึกษาการตั้งชื่อจังหวัด 76 จังหวัดในภาษามือไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างท่ามือและวิธีที่ใช้ในการตั้งชื่อจังหวัด 76 จังหวัด โดยศึกษาการใช้ท่ามือเรียกชื่อ จังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 จากโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ เปรียบเทียบกับท่ามือชื่อเรียกจังหวัดของสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบท่ามือตามแนวคิดของ Stokoe (2005), Brentari (1996) และ Tumtavitikul และ Jwatapant (2008) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3.82% และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8.33% ทำท่ามือตรงกับท่ามือชื่อเรียกจังหวัดของสมาคมคนหูนวกแห่งประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 52.62% และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 73.69% มีท่ามือแปรที่นักเรียนทั้งสองระดับทำท่ามือแปรต่างไปจาก ท่ามือชื่อเรียกจังหวัดของสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย นอกจากนี้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 33.82% และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15.13% ที่ไม่สามารถทำท่ามือชื่อเรียกจังหวัด และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9.74% และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2.85% ที่ทำท่ามือไม่สอดคล้องกับท่ามือชื่อเรียกจังหวัดของสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การที่นักเรียนทำท่ามือได้ตรงกับสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียน และท่ามือแปรชื่อจังหวัดแบบต่างๆ ที่ได้วิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันว่า ท่ามือต่างๆ ทั้งท่ามือที่ทำหรือเรียนรู้จากโรงเรียนนั้น ประกอบด้วยโครงสร้างของคำและพยางค์เช่นเดียวกับภาษาพูด และความหลากหลายของการใช้ท่ามือของนักเรียน ในบริบทของโรงเรียนแสดงให้เห็นว่ายังไม่มีการใช้ท่ามือ “มาตรฐาน” ในการใช้จริง This paper studies the naming of the 76 Thai provinces in Thai Sign Language (Thai SL) which aims to study the structure and component of signs by deaf students in middle and high school, Matthayom Sueksa 3 and 6, at Thungmahamek School of the Deaf. The data were analyzed into sign components of syllables and words (Stokoe, 2005; Brentari 1996; Tumtavitikul & Niwatapant, 2008) and compared with the sign components of the name signs of the National Association of the Deaf in Thailand (NADT). The results show that only 3.82% of the middle school and 8.33% of the high School students were able to name all the 76 provinces similar to NADT. A total of 52.62% and 73.69% of each group respectively, named the provinces in various forms different form the NADT signs. Another 33.82% and 15.13% respectively, were not able to name any provinces at all. Finally, 9.74% and 2.85% respectively, named the provinces incorrectly. The data seem to indicate that the ability to correctly name the name signs of the provinces highly correlate with the length of time in school. Moreover, the variants of the name signs were analyzed. In all, the components of the name signs confirm that the signs, naturally signed or learned from school, consist of defined structure built on syllables and words, in a manner similar to those of spoken languages and the so-called “standard” name signs are not widely used in daily life.Downloads
Published
2024-04-19
Issue
Section
Articles