อัตลักษณ์วัฒนธรรมของยูเครนการปะทะกันระหว่างกระบวนการสร้างความเป็นยูเครนกับการหวนคืนสู่วัฒนธรรมรัสเซีย

Cultural Identity of Ukraine A clash between the Ukrainization Process and a Nostalgic Russification

Authors

  • ณัฐนันท์ คุณมาศ

Keywords:

อัตลักษณ์, การเมือง, วัฒนธรรมยูเครน, วัฒนธรรมรัสเซีย, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

Abstract

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยเรื่อง “ยูเครนกับตัวแบบ CAGE : การวิเคราะห์เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศเพื่อการเปิดตลาดใหม่ของไทย” งานวิจัยฉบับเต็มได้ใช้ตัวแบบวัดระยะห่าง CAGE ที่พัฒนาโดยปันกาจ เขมวัต (Pankaj Ghemawat) เพื่อประเมินโอกาส และสร้างข้อเสนอแนะในการพัฒนาความสัมพันธ์กับยูเครน การพัฒนาความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในการเข้าสู่ประเทศตลาดใหม่นี้ภายหลังการล่มสลายของอตีดสหภาพโซเวียต ในส่วนบทความวิจัยนี้จะเสนอเฉพาะปัจจัยแรกของตัวแบบ CAGE คือปัจจัยทางวัฒนธรรม (C-Culture) ในยูเครน ซึ่งอัตลักษณ์วัฒนธรรมของยูเครนเป็นการต่อสู้กันระหว่างการดิ้นรนเพื่อการนิยามตัวตนหรืออัตลักษณ์แห่งชาติของยูเครน (Ukrainization) ในบริเวณตะวันตกและตอนกลาง กับความพยายามที่จะหวนกลับคืนสู่วัฒนธรรมรัสเซียและโซเวียต (Russia Nostalgic/Sovietphile) ในบริเวณตะวันออกและตอนใต้ โดยบทความนี้จะนำเสนอการต่อสู้ ดังกล่าวผ่านการก่อตัวทางวัฒนธรรมของยูเครน ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์แห่งชาติกับการเมืองในยูเครน และผ่านทางภาษากับการเป็นอุปสรรคในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์แห่งชาติในยูเครน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าถึงแม้ว่ากลุ่มยูเครนและรัสเซียมีทัศนคติต่อกันในเชิงค่อนข้างลบ อย่างไรตามทัศนคติดังกล่าวในระดับพลเมืองไม่ได้สร้างความขัดแย้งอันก่อให้เกิดความรุนแรง แต่ชนชั้นนำมักใช้ประเด็นความแตกต่างดังกล่าว เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางการเมืองของตน  This research article is a part of the academic research entitle “Ukraine and the CAGE Model: An International Political Economy Analysis for Thailand’s Market Access Strategies in to an Emerging Economy”. In a complete version of this research, it has adopted CAGE Distance Model developed by Pankaj Ghemawat so as to assess all possible contingencies and to propose suggestions associated with facilitating relation with Ukraine. Thailand’s entry into this new-emerging market country after the collapse of the Soviet Union can be both a challenge and an opportunity at the same time. This article only puts an emphasis on the first component of Ghemawat’s theoretical concept, a Cultural Distance (C-Culture). Cultural identity of Ukraine is caught up in between two paths. The first one is an attempt to preserve a national identity of Ukraine or euphemistically called Ukrainization in the Western and Central areas. The second is a Russification, yearning for an old-time identity of the Soviet Union in the Eastern and the Southern areas. This article would give the images of a struggle between the two opposing forces via cultural formulation within the Ukrainian society, the correlation between national identity and politics, and the language and the obstacles regarding the construction of identity in Ukraine. The study reveals that even though the Ukrainian and the Russian blocs have a seemingly negative view of each other, the enmity among the civilians does not provide an unbearable tension which leads to a bitter antagonism and inflexible positions. However, it is likely that the elites have recourse to this schism in order to serve their political advantages.

Downloads

Published

2024-04-21