ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำตาปีตอนบน
Local History of the Communities in the Upper Tapi River Basin
Keywords:
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, นครศรีธรรมราช, ลุ่มน้ำตาปีตอนบน, Local History, The Upper Tapi River BasinAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำตาปีตอนบน ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำตาปีตอนบน และวิเคราะห์การดำรงอยู่รูปแบบเครือข่ายของชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำตาปีภายใต้พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ มีขอบเขตด้านพื้นที่บริเวณชุมชนลุ่มน้ำตาปีตอนบนในฐานะเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมหนึ่ง ครอบคลุมเวลาจาก พ.ศ. ๒๔๔๒ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างผสมผสานกันระหว่างกลุ่มตัวอย่างแบบหลายกลุ่ม และการสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์ (Snowball Sampling) ใช้การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสังคม และวิเคราะห์รูปแบบเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำตาปีตอนบนปัจจุบัน ประกอบไปด้วยภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบชนบทเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่โดดเด่นอย่างมากคือ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพ่อท่านคล้าย มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปฏิรูประบบราชการสมัยรัชกาลที่ ๕ หลัง พ.ศ. ๒๔๔๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๐ สามารถแบ่งพัฒนาการเป็นสามช่วง ด้วยกัน คือ ช่วง พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๕๐๔ ช่วง พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๓๐ และช่วง พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๕๐ ทั้งสามช่วงมีปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งทางกายภาพ สังคม และความคิด เป็นพลังผลักดันให้ชุมชนมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ชาวชุมชนมีความทรงจำต่างๆ ร่วมกันจนสามารถสร้าง “อัตลักษณ์” ขึ้นมาเพื่อสร้างสรรค์ชุมชน ต่อรอง ต่อสู้ กับสิ่งบีบคั้น ขัดแย้งต่างๆ จนสามารถดำรงอยู่อย่างมี “คุณค่า” ในปัจจุบัน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนในท้องถิ่นมีความสำคัญในการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ เป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ทั้งด้านเนื้อหาและวิธีการศึกษา งานวิจัยนี้ได้ยืนยันการเป็นผู้ผลิตเล็กอิสระของชุมชนที่สามารถพึ่งตัวเองได้ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงสามารถปรับตัวได้ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะสามารถรวมตัวกันสร้างเป็นเครือข่ายแนวนอนได้ทุกยุคสมัย นอกจากนั้นในงานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของเครือข่ายทางสังคมและวัฒนธรรมแบบหนึ่งที่ยังดำรงอยู่ข้ามยุคข้ามสมัย คือ เครือข่ายพ่อท่านคล้ายที่สามารถยึดโยงชาวชุมชนกลุ่มต่างๆ เป็นการยืนยันถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้านที่สามารถปฏิบัติการจริงทางสังคมได้ โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับรัฐ งานวิจัยนี้ สามารถนำไปเป็นฐานองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชนระดับเศรษฐกิจวัฒนธรรมและควรขยายขอบเขตจากชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำตาปีตอนบนไปสู่ลุ่มน้ำตาปีตอนกลางและตอนล่าง หรือศึกษาเป็นชุดโครงการวิจัยทั้งลุ่มน้ำตาปีจะเกิดประโยชน์มากขึ้นในอนาคต This research aims to study the system of local cultural landscape and the historical development of the communities in the upper Tapi river basin. It also aims to analyze the existence of local networks of the communities there under the historical development. The scope of the study was the basin of the upper Tapi river, perceived as a cultural economic area, covering the period between BE 2442 to BE 2550. The research is a qualitative research study using the historical approach. The data collected were from the observations, and interviews. This research selected a mixed samples and employed a snow ball sampling technique for the interviews. The collected data were analyzed to find the samples’ s social relations and their networks. The results showed that the up to the point of the research investigation the communities at large along the basin managed to maintain their rural cultural landscape. What was very unique was the history centering around the individual person by the name of Phor Than Klai. It was found that the history of the area date back to the prehistoric period to the reign of King Rama V. The period under this study was between BE 2442 and BE 2550, which could be divided into three developmental periods, namely, the period between BE 2442 to BE 2504, between BE 2505 and BE 2530, and the period between BE 2531 and BE 2550. The three historical periods entailed both external and internal factors, including geographical, social, and ideological factors, driving the dynamic of communities. The communities shared many historical memories, leading to the formation of their own “identity”, and they have used that identity to build their communities, to negotiate with other communities, and to deal with other pressing threats. All of these elements have contributed to their claim of having a “valuable” existence in today world. This research shows that local people are important in driving history. A local history is thus important for the bodies of Thailand’s southern history Knowledge, both at the contents and methods. This research confirms the communities functioning as the petty commodity producer. The communities were found to be self-sufficient in both the family and community levels. For this reason, the people were found to able to adapt to any style of changes. In particular, they could form horizontal networks that have lasted for all ages. Moreover, this research also demonstrates the unique nature of social and cultural network that has existed for many different historical periods, and that uniqueness is the network centering around Phor Than Klai. This network has succeeded in forming the unity of many community groups. It confirms the power relationship between the priests and the people that can be established without the involvement of the state power. This research can be used as a knowledge base in community development at various cultural economic area. Future research should investigate the scope of the study from the upper basin of the river to the central and the lower basins. A comprehensive study of the communities in the Tapi river basin would be useful in the future.Downloads
Published
2024-04-22
Issue
Section
Articles