การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดเก็บหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

The study of the development model of loan collection for education loan fund

Authors

  • สุรัสวดี ชัยรัตน์

Keywords:

การบริหารจัดเก็บหนี้ , กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, The model of loan collection, Education loan Fund

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาการบริหารจัดเก็บหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหา และอุปสรรคในการจัดเก็บหนี้ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดเก็บหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อไป ผู้วิจัยได้ออกแบบวิธีการศึกษาในเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ผู้บริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษา และฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ผลการวิจัยพบว่าผลการดำเนินงานการบริหารจัดเก็บหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในส่วนของการชำระหนี้คืนกองทุนฯ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ มีผู้มาติดต่อชำระหนี้ ร้อยละ ๗๒.๑๘ และมีผู้ไม่มาติดต่อชำระหนี้ ร้อยละ ๒๗.๘๒ ถึงแม้ว่าสัดส่วนการชำระหนี้ จะอยู่ที่ร้อยละ ๗๐-๗๕ แต่ในส่วนนี้ประกอบด้วยผู้ที่ชำระหนี้เพียงบางส่วนถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้กองทุนฯ มีเงินทุนหมุนเวียนลดน้อยลง ส่วนปัญหาในด้านบริหารจัดเก็บหนี้เกิดจากปัจจัย ๓ ด้าน คือ ปัจจัยทางด้านหลักเกณฑ์การชำระหนี้ที่มีความผ่อนปรน และยืดหยุ่น, ปัจจัยทางด้านหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้กู้ยืม ที่ไม่มีการคัดกรองและพิจารณาอย่างเข้มงวด ซึ่ง ๒ ปัจจัยนี้ กำหนดหลักเกณฑ์โดยคณะกรรมการกองทุนฯ ประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงในกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองค่อนข้างสูง สังเกตได้จากการไม่ดำเนินการอย่างจริงจังกับกลุ่มผู้ที่มีรายได้แต่ไม่ชำระหนี้ และปัจจัยสุดท้ายคือ ปัจจัยทางด้านการติดตามหนี้สิน ทั้งนี้การดำเนินงานกองทุนฯ ได้มอบหมายให้ตัวแทน ซึ่งประกอบด้วย ๒ กลุ่มเข้ามาดำเนินงานรับผิดชอบ ได้แก่ สถานศึกษาซึ่งทำหน้าที่คัดกรองผู้กู้ และ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการโอนเงินกู้ให้ผู้กู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานศึกษา และการติดตามหนี้สิน โดยที่ตัวแทนทั้ง ๒ กลุ่ม ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นกับทางกองทุนฯ จึงมีโอกาสที่การดำเนินงานของตัวแทนจะทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดเก็บหนี้กองทุนฯ ผู้วิจัยสามารถกำหนดแนวทางตามปัจจัยทั้ง ๓ ด้าน ดังต่อไปนี้ คือ ด้านหลักเกณฑ์การชำระหนี้ ควรสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ที่ชำระหนี้ก่อนกำหนด หรือสามารถปิดยอดหนี้ได้, นำมาตรการบันทึกประวัติการชำระหนี้เข้าสู่ระบบฐานบริษัทข้อมูลเครดิตกลางจำกัด (Central Credit Bureau) กรณีผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดตัดสิทธิ์ทางสังคม กรณีผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ตามกำหนด แต่มีรายได้เกินเกณฑ์ขั้นต่ำ ด้านหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเสนอให้ทางกองทุนฯ มีการสุ่มตรวจสอบสถานศึกษา, ควรลดจำนวนเงินจัดสรรแก่สถานศึกษาที่ไม่ดำเนินการตามระเบียบที่กองทุนฯ กำหนดมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่สถานศึกษาดีเด่นที่มีจำนวนผู้กู้ที่มาชำระหนี้ตามกำหนดจำนวนสูงที่สุด, ระบุหลักเกณฑ์ด้านระดับคะแนนเฉลี่ย ๒.๐๐ ขึ้นไป เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาที่เท่าเทียมกันในทุกสถาบัน ด้านการติดตามหนี้สิน เสนอให้กรมสรรพากร และประกันสังคม ทำหน้าที่ในการติดตามการชำระหนี้ในลักษณะการหักเงิน ณ ที่จ่าย ระบุในเอกสารรายงานแสดงผลการเรียนว่าเป็นผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลกองทุนฯ ประจำสถานศึกษาต่างๆ ควรรับทราบข้อมูลในการชำระหนี้อย่างชัดเจนเพื่อชี้แจงให้นิสิต นักศึกษาได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องและควบถ้วน, กองทุนฯ จะต้องแจ้งสรุปผลการชำระหนี้ของผู้กู้ที่เป็นศิษย์เก่าในสถานศึกษาต่าง ๆ และมีการติดตามผู้กู้ที่ค้างชำระโดยส่งรายชื่อไปตามสถานศึกษา ต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์และติดตามหนี้  This research is The study of the development model of loan collection for education loans fund and its progress as well as the problems and the difficulty in collecting debts in order to be a prototype for other future development of the debt collecting administration on the bonds for educational loan. The researcher focused on the quality study. The target group was divided into 3 smaller classes: the administrative of the bonds for educational loan, the head(s) and staff(s) of schools and the government project administrators (Krungthai Public Company Limited) The outcomes of the development model of loan collection for education loans fund especially on the debt payments, there was approximately 72.18 per cent of success of debt payments by May 31, 08. On the other hand, there was 27.82 per cent of failure of debt payments. It could be pictured as a 70-75 per cent success. It was actually; however, nearly half of the payments which were half of less payments, which caused the bonds to have a financial circulation difficulty. On the causes leading to the difficulty in collecting the debt could be separated into 3 sides: the too much flexibility of the payment conditions, the badly-advised recruitment on the qualities of the loan borrows and the debt collecting proficiency. For the first 2 sides, it could be assumed that the high ranked peoples behind the policy determination appeared to be those of the top positions in the ministry of finance, of education or of university. Those peoples were easily influenced by powerful politicians, which could affect he low debt collecting proficiency. In addition, on the third side, the government assigned 2 representatives: schools as the loan borrower recruitment agent and banks as the money transferring source co working with the agent; however, both parties had nothing to do with the profits or losses, they; therefore, did not act aggressively towards the collection of the debts. Suggested approaches for the management of the loan collection for education loan fund. The researcher can propose approaches according to the 3 conditions of the debt payment approach; this means there should be some motivation for those paying early or closing the debt. In case, the borrower does not pay on time, his history will be sent in to the Central Credit Bureau of the company. If he does not pay on time, but he receives a high income then the minimum standard, he will be deprived from a social eligibility Next, the borrower quality, the research suggest the fund provider check schools randomly. The provider has to reduce the amount of money allotted to those with unimpressive records; on the other hand, grant a complimentary reward to those having the highest debt payments. In addition, the GPA 2.00, for example, should be set as a general standard when deciding which student is eligible to apply for the loan. The last one, the debt collection, it is suggested that bath the tax department and the social welfare office participate in this job such as A deducted salary approach, a solid identification in the school report as an educational fund borrower. The fund information providers in each school have to be will trained and informative so as to give the best understanding to the potential burrow. Lastly the fund provider al so needs to give a list of those graduated borrowers in each school as well as spreading the name of those unfinished debt borrowers to schools to encourage debt collection.

Downloads

Published

2024-05-03