แนวทางการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

Guidelines for Archives Management of Mrigadayavan Palace

Authors

  • ศรีหทัย เวลล์ส

Keywords:

จดหมายเหตุ, การจัดการจดหมายเหตุ, การจัดการเอกสารจดหมายเหตุ, พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน, Archives, Archives Management, Records Management, Mrigadayavan Palace

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ และเพื่อพัฒนาแนวทางในการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) สภาพการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในปัจจุบันพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้ผลิตและจัดเก็บรวบรวมเอกสารที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ประกอบด้วย 7 คอลเล็กชัน คือ ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) หนังสือพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 งานดนตรีไทย งานช่างไม้ งานพฤกษศาสตร์ งานภูมิสถาปนิก และงานโบราณคดีและงานสถาปัตยกรรม สภาพปัญหาของการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ พบปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านแนวปฏิบัติของงานเอกสารจดหมายเหตุ ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ และ 2) แนวทางในการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน คือ การพัฒนานโยบายการจัดการเอกสารที่เป็นรูปธรรมและเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรในรูปแบบ “คู่มือการจัดการเอกสารจดหมายเหตุพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเป็นกลไกในการบริหารและดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานต่อไป  This research aims to study the current situation of archives management, and to develop guidelines for archives management of Mrigadayavan Palace. This study employs a qualitative research approach by using the data collection method from in-depth interviews with three groups of informants, a top exclusive, employees, and archives management professionals. The findings are categorized into two parts based on the objectives. For the first objective, the analysis indicates that Mrigadayavan Palace has generated and gathered archival documents related to the missions. The archival collections include the KM system, the royal writings of King Rama VI, Thai music, carpentry, botany, landscape architecture, as well as archeology and architecture. Five problem areas faced by Mrigadayavan Palace in archives management were: policy, practices, utilization, archivist, and budget problems. For the second objective, the guidelines for managing the archives, which will be crucial for Mrigadayavan Palace, are outlined in the “Mrigadayavan Palace’s Handbook of Archives Management.” This handbook will serve as a guideline established by the agency to manage and implement the organization’s mission.

References

คุณซี (นามสมมติ). (2566, 7 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

คุณดี (นามสมมติ). (2566, 7 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

คุณบี (นามสมมติ). (2566, 7 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

คุณอี (นามสมมติ). (2566, 7 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

คุณเอ (นามสมมติ). (2566, 31 มกราคม). สัมภาษณ์.

โครงการหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์. (2537). การบริหารงานเอกสาร. โดมทัศน์, 15(1), 130-139.

ปาริฉัตร สกุลเจริญพรชัย. (2554). การบริหารจัดการงานบูรณะในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน. [วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ภาวดี ศรีชุมพวง. (2557). รูปแบบการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของชุมชนตลาดเก้าห้องจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 715-725.

ภาวนา สุพัฒนกุล. (2548). ระบบการจัดการเอกสารราชการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ละอองดาว ภูสำรอง. (2561). ระบบการจัดเก็บเอกสารภายในของบุคลากรสายสนับสนุน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วราภรณ์ พูลสถิติวัฒน์. (2564). การวางระบบการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ โดยการประยุกต์ใช้หลักการจัดการเอกสารตามมาตรฐาน ISO 15489. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมทรวง พฤติกุล. (2539). หลักและแนวปฏิบัติงานจดหมายเหตุสำหรับภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรัลชนา น้ำเงินสกุณี. (2561). การจัดการคอลเล็กชันข้อมูลท้องถิ่นของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2547). คู่มือการดำเนินงานหอจดหมายเหตุท้องถิ่น. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

สุชาดา สุรางค์กุล และลำปาง แม่นมาตย์. (2553). แนวทางการจัดการเอกสารจดหมายเหตุในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 10(3), 145-156.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2547). คู่มือการดำเนินงานจดหมายเหตุท้องถิ่น. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

“ห้องสมุด” ใน “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ต้นแบบเยี่ยมชมเข้าใจพิพิธภัณฑ์อย่างลึกซึ้ง. (2563). https://www.thaipost.net/main/detail/78242

อนันต์ สมมูล. (2566). Community archives, community spaces: heritage, memory and identity. https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/531

อุบล ใช้สงวน. (2538). เอกสารจดหมายเหตุมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ. สารกรมศิลปากร, 3(11), 21-23.

Adusei, C., & Senyah, M. M. (2022). Staff knowledge on records management in the local governments of Ghana: A case study. Expert Journal of Business and Management, 10(1), 1-13.

Dingwall, G. (2010). Life cycle and continuum: A view of recordkeeping models from the postwar era (pp.130-161). In Currents of archival thiking. ABC-CLIO.

Downloads

Published

2024-05-13