ละครโทรทัศน์ศึกษา: การสำรวจสถานภาพของงานวิจัยว่าด้วยละครโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2545-2564)

Soap Opera Studies: A Survey of Research Projects about Television Drama in Thailand (2002-2021)

Authors

  • สมสุข หินวิมาน

Keywords:

ละครโทรทัศน์, ละครโทรทัศน์ศึกษา, องค์ความรู้, Soap Opera, Soap Opera Studies, Body of Knowledge

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพของงานวิจัยว่าด้วยละครโทรทัศน์ศึกษาของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2564 โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) เป็นเครื่องมือหลักของการศึกษา จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ออกแบบวิจัยละครโทรทัศน์ของไทย จำนวน 98 เล่ม พบว่า ประเด็นหัวข้อที่ศึกษาจะครอบคลุม 5 ด้าน คือ การวิเคราะห์ผู้ส่งสาร/ผู้ผลิต  การวิเคราะห์เนื้อหา/ตัวบท การวิเคราะห์ช่องทางการสื่อสาร การวิเคราะห์ผู้รับสาร/ผู้ชม และการวิเคราะห์บริบทการสื่อสารของละครโทรทัศน์ ในส่วนสถานภาพแห่งองค์ความรู้ละครโทรทัศน์ศึกษาของไทย พบว่า ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันที่ว่าละครโทรทัศน์เป็นสื่อบันเทิงสำหรับสาธารณชน แนวทางการเข้าสู่ปัญหาของละครโทรทัศน์ศึกษากลับแตกต่างกันไปตามการกำหนดนิยาม/สถานะของละครโทรทัศน์ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นิยามของละครโทรทัศน์ในฐานะสื่อที่มีผลกระทบต่อผู้ชมและสังคม นิยามของละครโทรทัศน์ในฐานะอุตสาหกรรมสื่อ และนิยามของละครโทรทัศน์ในฐานะพื้นที่ทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ และที่สำคัญชุดนิยามทั้ง 3 กลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นตัวแปรต้นที่กำหนด แนวทางการออกแบบงานวิจัยละครโทรทัศน์ศึกษา ตั้งแต่การตั้งปัญหานำวิจัย การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎี การเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย และการวิเคราะห์/สังเคราะห์ผลการศึกษา  This research project aims to conduct a survey of academic research projects about television drama in Thailand from 2002 to 2021. This documentary analysis of 98 postgraduate theses from Chulalongkorn University and Thammasat University reveals that the research topics include sender/encoder analysis, message/textual analysis, channel analysis, receiver/decoder analysis and contextual analysis of soap opera communication.This review of the body of knowledge about Thai soap opera studies also indicates that all the selected postgraduate theses regard television drama as mass entertainment. Nevertheless, approaches to the studies of this fictional programme vary according to how each research project defines soap serials in 3 different ways: (1) the studies of media impact of television drama; (2) the studies of television drama industry; and (3) the studies of television drama as cultural and ideological sphere. Notably, these different definitions significantly make an impact upon how to design research into soap opera studies, namely identifying a statement of problems, adopting conceptual and theoretical framework, conducting research methodology, analysing and sythesising the body of knowledge.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. ภาพพิมพ์.

ธีรนง เกิดสุคนธ์. (2525). การศึกษาอิทธิพลทางจริยธรรมของสื่อละครโทรทัศน์ที่มีต่อเยาวชน: ศึกษาเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนรัฐบาลสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ภัทร์ภูรี ประยูรเกียรติ. (2520). อิทธิพลของรายการโทรทัศน์ภาคหัวค่ำต่อการอ่านของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สมสุข หินวิมาน. (2545). “ละครโทรทัศน์: เรื่องของ ‘ตบ ๆ จูบ ๆ’ และ ‘ผัว ๆ เมีย ๆ’ ในสื่อ ‘น้ำเน่า’”. ใน กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (บรรณาธิการ). สื่อบันเทิง: อำนาจแห่งความไร้สาระ (หน้า 173-247). ออล อเบ้าท์ พริ้นท์.

สมสุข หินวิมาน. (2558). อ่านทีวี: การเมืองวัฒนธรรมในจอโทรทัศน์. พารากราฟ.

สมสุข หินวิมาน. (2561). คน ระคน ละคร: รวมบทวิจารณ์ว่าด้วยคน ความคิด และวัฒนธรรมในละครโทรทัศน์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

Hobson, D. (2003). Soap opera. Polity.

Downloads

Published

2024-05-13