ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในระดับดีในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

Effective Factors on Administrative Efficiency for Managing the Village and Urban Community Funds at the Best Practice Level in Chiang Mai Provincial Area

Authors

  • มนตรี กรรพุมมาลย์

Keywords:

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, การพัฒนาชุมชน, หมู่บ้าน, เชียงใหม่

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่างๆ ของคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาลักษณะปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหน่วยในการวิเคราะห์ คือ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 22 อำเภอ และ กิ่งอำเภอ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเจาะจงเฉพาะหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีกองทุนเข้มแข็ง ๓ อันดับแรกของทุกอำเภอ รวม ๗๒ กองทุน ตามรายงานผลการประเมินของหน่วยราชการในปี พ.ศ. 2546 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ทั้งเทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจำนวนผู้ให้ข้อมูลมี 572 คน และการประชุมเชิงปฏิบัติการ 4 ครั้ง เพื่อประเมินจุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัดของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง  ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นชาย ร้อยละ 56.8 อยู่ในวัยทำงาน ร้อยละ 71.5 จบชั้นมัธยมศึกษาหรือน้อยกว่า ร้อยละ 77.3 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 46.5 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 84.2 เป็น กรรการ ร้อยละ 52.47 ประเด็นด้านความคิดเห็นการปฏิบัติงานของกรรการกองทุนพบว่า ทั้งคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดรองลงมา กรรมการเน้นความสำคัญของการยอมรับจากสมาชิก แต่สมาชิกเน้นความสำคัญของความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประเด็นความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ทั้งกรรมการและสมาชิกให้ความสำคัญกับการคืนเงินกู้ตามกำหนดเวลามากที่สุด รองลงมา กรรมการเน้นความสำคัญของความพึงพอใจของสมาชิกต่อการบริหารงานกองทุนและการไม่มีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกที่กู้และไม่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ส่วนสมาชิกเน้นความสำคัญของความซื่อสัตย์ของสมาชิก การเสียสละเพื่อส่วนรวมของสมาชิกและความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของสมาชิก ประเด็นการบริหารการจัดการกองทุนหมู่บ้านโดยรวม กรรมการให้ความสำคัญกับการแบ่งงานและความรับผิดชอบ รองลงมา คือ การตั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับกองทุนขณะที่สมาชิกให้ความสำคัญกับการมีกฎระเบียบเกี่ยวกับกับกองทุน รองลงมา เป็นการแบ่งงานและความรับผิดชอบ  ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ลักษณะที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน ประกอบด้วย (1) ลักษณะของหมู่บ้านและชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย การมีค่านิยมและความเชื่อ ความสัมพันธ์ทางสังคมและการติดต่อสื่อสารในทางเดียวกัน (2) ลักษณะกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เข้มแข็งประกอบด้วย การมีผลประโยชน์/อุดมการณ์ร่วมกัน และความร่วมมือของสมาชิก รองลงมาเป็นวิธีการบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุน ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การขาดความรู้ความเข้าใจในโครงการกองทุนหมู่บ้านและระดับการมีส่วนร่วมของกรรมการและสมาชิกในการบริหารจัดการกองทุนมีน้อย รวมทั้งขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบข้อมูลกองทุน ระบบเอกสารการจัดทำบัญชี รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับองค์กรชุมชนอื่นๆ ในพื้นที่  ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนากองทุนหมู่บ้าน โดยการพัฒนาจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ความเป็นเจ้าของและการรักษาผลประโยชน์ของกองทุนหมู่บ้าน การปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิสัยทัศน์ กระบวนการทำงานและการแบ่งความรับผิดชอบ การกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมรวมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ความโปร่งใสและการตรวจสอบได้  ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ เริ่มจากการฝึกอบรมด้านความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาการมีส่วนร่วม การสร้างจิตสำนึกร่วม การสร้างเครือข่ายการปรับปรุงระบบบัญชี ระบบเอกสารและกฎเกณฑ์การกู้ยืมเงิน ระบบการติดตามผลการกู้เงิน การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการส่งเสริมความรู้ด้านธุรกิจและการพัฒนาธุรกิจชุมชน  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป คือ การพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการเสริมสร้างกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน รูปแบบความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการเมือง (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน ผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านที่มีต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของสมาชิกผู้กู้เงิน  The objectives of this research were to examine factors affecting the management of village and urban community funds launched by fund committee and to find out problems and obstacles related to development of village and urban community funds. The unit of analysis was village and urban community funds in Chiang Mai province consisting of 22 districts and 2 subdistricts. The first three strongly active village and urban community funds from each district were purposively selected for this study with the total of 72 funds with the evaluational report of the official agency in B.E. 2546. Quantitative and qualitative research techniques were used by questionnaire survey and open discussion in the workshops. The number of respondents was 572 and workshops were held to assess the strength, weakness, opportunities and threats of village and urban community funds. The research results showed that most respondents were male (56.8%), working age (71.5%), finished secondary school or below (77.3%), working on farm (46.5%), earning income less than 10,000 baht per month (84.2%) and more than half become committee members (52.4%). Both fund committees and members gave precedence with the uprightness on the important of the acceptance from members but members emphasized the importance of work performed by the committees. Both the committees and members gave precedence with loan returning on time schedule most, next the committees emphasized on satisfaction of members towards fund administration and having no conflict between members who borrowed and did not borrow money from village fund. Fund members emphasized on the importance of members’ honesty and public devotion by role of the members. Fund committees gave precedence with work distribution and responsibility, setting up fund regulation, while the members responded in the opposite way.  Qualitative research results showed that the main factors related to administrative efficiency of village fund were 1) the characteristics of vigorous village and urban community on value, belief and social interaction and communication were in the same sense; 2) the characteristics of vigorous village and urban community include the same benefit obtained. Ideology and cooperation among members.  Problems and obstacles found in this study were lacking of understanding on fund management, low participation among committees and members as well as lacking of management knowledge in terms of system data management, document system, account arrangement, cooperation and integration work among relevant organizations at Tambon level.  Suggestions for developing village and urban community funds were to initiate the issues of the public consciousness, sense of belongings, attitude and vision adaptation, work process and equal interest distribution as well as to promote member’s participation by covering on transparency and accountability.  Suggestions for fund members were to train them on fund management, building network, account system and loan system and also to promote incentives for member’s participation and community business knowledge.  Suggestions for future research were to develop approach of sustainable self-reliance village and urban community funds. In addition, to study cooperative work among academic institutes, local governments and local community organizations was needed as well as to evaluate the impacts on livelihood and quality of lives of fund members.

Downloads

Published

2024-05-17