Social Welfare Policy: Its Effects and Attitude toward the Policy

นโยบายสวัสดิการสังคม: ผลของนโยบายและทัศนคติต่อนโยบาย

Authors

  • Pisanu Sangiampongsa
  • พิษณุ เสงี่ยมพงษ์

Keywords:

Equality, Quality of life, Social policy, Social service

Abstract

The extent and substance of social welfare policy make it a controversial issue, as different and usually contradicting political and economic ideologies all provide defensible rationale for them. Along with the policy is the forced resource relocation in the society. Since the policy effect is more empirical than the ideologies, the first objective of this research, therefore, examines, on the global scale, the effect of social welfare policy on equality and social well-being, as forms of social justice. Available secondary data are compiled for the study, with countries as the unit of analysis. The second objective is to study the attitude of a group of Thai university students from middle class families or above toward the Thai social welfare policy, since the policy responsiveness is necessary in a democratic country like Thailand. Survey is used as the method of data collection. For data analyses, regression analyses and chi square tests are used in response to the first and second objectives, respectively.  The finding indicates an impressive result of social welfare policy on equality and social well-being, when it is compared to political, economic, and social factors. Urbanization is the one social factor that is equally significant as the policy factors in determining social equality and social well-being. This finding is in line with the Convergence Thesis, positing the conformance of urban societies to social welfare policy and, ultimately, the social well-being. The survey of Thai university students shows their favorable attitude toward social welfare policy and social equality, although the types of equality requiring more extensive resource transfer receive less support. With these empirical findings and welfare literature, the new Convergence Thesis having three aspects is proposed. First, the impressive empirical result of social welfare policy as well as the favorable attitude toward equality and the policy push the non-welfare states to conform more with some features and substance of state welfare of the Western, developed countries. Second, the welfare states and non-welfare states conform with each other in the use of the non-state sector, through privation as a promising alternative to state welfare. With privatization, however, remains the distinctive role of the state as service arranger. At times, it also subsidizes the private sector in delivering services, due to the positive effect of welfare spending indicated in this study. Third, there is a convergence of social welfare ideologies form two polar opposites of the Right on the one hand and the Collectivism on the other, reaching the middle ground or the gray area. With such gray area are the positive components of the contradicting, opposite ideologies, which are adopted by many countries.  ระดับและสาระของนโยบายสวัสดิการสังคม ทำให้เป็นประเด็นถกเถียงได้เสมอ เมื่อแต่ละอุดมการณ์และปรัชญาทางการเมืองและเศรษฐกิจ สามารถให้เหตุผลอ้างอิงระดับและสาระดังกล่าวได้ และเมื่อมีนโยบายสวัสดิการสังคม ก็จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรและรายได้ภายในสังคมอีก ด้วยผลของนโยบายเป็นที่ประจักษ์แจ้งกว่าอุดมการณ์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์แรก ที่จะศึกษาผลของนโยบายสวัสดิการสังคม ที่มีต่อคุณภาพชีวิตและความเท่าเทียม ในฐานะเป็นความยุติธรรมในสังคมงานวิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิในการตอบวัตถุประสงค์แรก โดยใช้ประเทศเป็นหน่วยวิเคราะห์ วัตถุประสงค์ที่สองของงานวิจัยศึกษาทัศนคติของนักศึกษาไทยกลุ่มหนึ่ง ที่มาจากครอบครัวชนชั้นกลางขึ้นไป ที่มีต่อนโยบายสวัสดิการสังคมในประเทศไทย ด้วยประเทศในระบอบประชาธิปไตยต้องตอบสนองความประสงค์ของสังคมในเชิงนโยบายในระดับหนึ่ง การสำรวจใช้เป็นวิธีการเก็บข้อมูล เพื่อตอบวัตถุประสงค์นี้สำหรับการวิเคราะห์ใช้ Regression analysis และ การทดสอบ Chi square สำหรับวัตถุประสงค์ที่หนึ่ง และที่สอง ตามลำดับการวิจัยพบผลที่น่าพอใจของนโยบาย ต่อความเท่าเทียม และ คุณภาพชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับผลของปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สภาพความเป็นเมือง คือปัจจัยทางสังคมปัจจัยเดียว ที่มีผลเชิงบวกเช่นเดียวกับปัจจัยนโยบาย ต่อความเท่าเทียมและคุณภาพชีวิต ผลวิจัยนี้สอดคล้องกับ The Convergence Thesis ที่อ้างถึงสังคมเมือง ที่มีแนวโน้มที่จะกำหนดนโยบายสวัสดิการสังคมมากขึ้นซึ่งในท้ายสุด จะเพิ่มคุณภาพชีวิต การสำรวจทัศนคติของนักศึกษาไทย พบทัศนคติเชิงบวกต่อนโยบายสวัสดิการสังคมและความเท่าเทียมของสังคม โดยที่ความเท่าเทียมประเภทที่มีผลมาจากการเคลื่อนย้ายทรัพยากรภายในสังคม จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักศึกษา น้อยกว่าความเท่าเทียมประเภทที่ไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายทรัพยากร ด้วยการค้นพบเชิงประจักษ์นี้ ร่วมกับวรรณกรรมด้านสวัสดิการสังคม งานวิจัยนี้นำเสนอ The New Convergence Thesis ที่มีสามมิติ ในมิติแรก ผลที่น่าพอใจของนโยบายสวัสดิการสังคมและทัศนคติเชิงบวกต่อนโยบายและความเท่าเทียม น่าจะผลักดันให้ประเทศที่มีสวัสดิการน้อย หรือประเทศที่ไม่ใช่รัฐสวัสดิการจัดหาสวัสดิการในระดับที่มากขึ้น ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศที่มีสวัสดิการสังคมระดับสูง หรือประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการในตะวันตก ในมิติที่สองทั้งประเทศที่เป็น และไม่ได้เป็นรัฐสวัสดิการจะคล้ายกัน ในการโอนภารกิจด้านสวัสดิการสังคมสู่ภาคเอกชนมากขึ้นในฐานะเป็นทางเลือกของบริการด้านสวัสดิการสังคม แต่แม้จะมีการโอนภารกิจสู่เอกชนเช่นนี้ ภาครัฐยังต้องคงบทบาทการดูแลการให้บริการของเอกชน และที่สำคัญ ควรให้การสนับสนุนภาคเอกชนด้านงบประมาณ ด้วยผลเชิงบวกของการกำหนดงบประมาณและนโยบายสวัสดิการสังคม ที่พบในงานวิจัยนี้ สำหรับมิติที่สาม จะมีการสนองรับอุดมการณ์ในระดับกลาง ๆ ระหว่างอุดมการณ์สุดขั้ว หรือตรงข้าม คืออุดมการณ์ฝ่ายขาว ในขั้วหนึ่งและสังคมนิยม ในอีกขั้วหนึ่ง ซึ่งอุดมการณ์ในระดับกลาง ๆ ที่หลายประเทศให้ความสนใจนี้ มีข้อดีตรงที่บรรจุปัจจัยด้านบวก ของทั้งสองขั้วอุดมการณ์ไว้ทั้งสิ้น

Downloads

Published

2024-05-23